การขับเคลื่อนประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสมาชิก OECD (TH2OECD)

ข่าวสาร/ความเคลื่อนไหว

30 สิงหาคม 2567

การประชุมเผยแพร่รายงานการศึกษาและข้อเสนอแนะ โครงการ Reinforcing Thailand’s Anti-Corruption framework ภายใต้ Country Programme ระยะที่ 2

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) จัดการประชุมเผยแพร่รายงานการศึกษาและข้อเสนอแนะของโครงการ Reinforcing Thailand’s Anti-Corruption Framework ซึ่งเป็นหนึ่งใน Country Programme (CP) ระยะที่ 2 ภายใต้สาขาความร่วมมือหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้ภาคส่วนต่าง ๆ รับทราบและนำมาปรับใช้ในการดำเนินงานภายในประเทศ โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD โครงการ Reinforcing Thailand’s Anti-Corruption Framework ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับกรอบการดำเนินการด้านการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐาน OECD และเพื่อส่งเสริมการเข้าร่วมในคณะทำงานว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนในการทำธุรกรรมธุรกิจระหว่างประเทศของ OECD (OECD Working Group on Bribery in International Business Transactions (WGB)) จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยควรพิจารณาดำเนินการเพื่อการพัฒนากรอบของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการต่อต้านสินบนระหว่างประเทศ เช่น […]

7 สิงหาคม 2567

สภาพัฒน์หารือหน่วยงานรัฐ เตรียมพร้อมเดินหน้าตามแผนการเข้าเป็นสมาชิก OECD

          เมื่อวันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดการประชุมหารือเกี่ยวกับการเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย กับหน่วยงานภาครัฐ ณ สศช. ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางในการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการ OECD จำนวน 26 คณะ ในกระบวนการจัดทำข้อตกลงเบื้องต้น (Initial Memorandum: IM) และการประเมินทางเทคนิคเชิงลึก (Technical Review) ตามแผนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย (Roadmap for the OECD Accession Process of Thailand)  โดยมีนายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม และมีผู้แทนจาก 24 กระทรวง/หน่วยงาน เข้าร่วม           ในโอกาสนี้ รองเลขาธิการฯ ได้กล่าวถึงสถานะการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา โดยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 คณะมนตรี […]

18 มิถุนายน 2567

OECD มีมติเอกฉันท์รับไทยสู่กระบวนการเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ

            เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 คณะมนตรี OECD (OECD Council) ซึ่งประกอบด้วย 38 ประเทศสมาชิก มีมติเอกฉันท์เห็นชอบเปิดการหารือกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก (accession discussion) กับประเทศไทย นับเป็นก้าวสำคัญที่ไทยจะมีบทบาทในเวทีโลกและยกระดับประเทศสู่มาตรฐานสากลในทุกมิติ             ประเทศไทยได้ยื่นต้นฉบับหนังสือแสดงเจตจำนงในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ไปเมื่อเดือนเมษายน 2567 และได้รับเชิญให้เข้าร่วมหารือวาระพิเศษกับคณะมนตรี OECD ซึ่งไทยได้นำเสนอจุดแข็งของประเทศและผลประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับร่วมกันจากการเข้าเป็นสมาชิกของไทย นับเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งต่อมาคณะมนตรี OECD ได้มีมติเอกฉันท์เปิดการหรือกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกกับประเทศไทย จึงทำให้ไทยมีสถานะเป็นประเทศผู้สมัครที่อยู่ในกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD (OECD Accession Country)             สำหรับขั้นตอนถัดไป เลขาธิการ OECD จะจัดทำแผนการเข้าเป็นสมาชิก (Accession Roadmap) ให้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่จะระบุขั้นตอนการเข้าเป็นสมาชิกและรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ โดยตลอดกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก ประเทศไทยจะต้องดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการ OECD (OECD Committee) อย่างใกล้ชิด ในการปรับปรุงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย (legislation) นโยบาย (policies) และแนวปฏิบัติ […]

12 มิถุนายน 2567

สศช. เร่งสร้างความตระหนักรู้เพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่าง OECD กับภาคเอกชนไทย

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำเสนอ เรื่อง การเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ของประเทศไทย ให้กับคณะกรรมการหอการค้าไทย รับทราบและตระหนักรู้ถึงบทบาทของภาคเอกชนซึ่งจะเป็นภาคส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย โดยมีนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกิตติมศักดิ์ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ และ ดร.กฤษณะ วจีไกรลาศ กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย และกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมรับฟังและให้ข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รองเลขาธิการฯ ได้นำเสนอภาพรวมเกี่ยวกับ OECD ซึ่งรวมถึงโครงสร้างของ OECD ที่เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจ ภาคแรงงาน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ จากประเทศสมาชิกและมิใช่ประเทศสมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะของ Policy Makers and Policy Shapers เพื่อให้ข้อเสนอแนะและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่าง ๆ ร่วมกับ OECD […]

29 พฤษภาคม 2567

สรุปแถลงการณ์การประชุม OECD Ministerial Council Meeting Statement 2024 2-3 พฤษภาคม 2567 OECD Headquarters in Paris

          การประชุม OECD Ministerial Council Meeting 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “ร่วมสร้างกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง: เปิดประเด็นอภิปรายระดับโลกแบบมุ่งเป้า พึ่งพาได้ เพื่อการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน”  (Co-creating the flow of change: Leading Global Discussions with Objective and Reliable Approaches towards Sustainable and Inclusive Growth) ซึ่งมีประเทศญี่ปุ่นเป็นประธาน โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้           ผู้แทนระดับกระทรวงที่เข้าร่วมการประชุม OECD Ministerial Council Meeting 2024 ร่วมกันหารือเพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลก อาทิ ด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเข้าไม่ถึงระบบสารสนเทศดิจิทัล การขาดแคลนงบประมาณเพื่อสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุม ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลแบบมีหลักฐานเชิงประจักษ์และการมีมาตรฐานที่สูง พึ่งพาได้ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างสังคมคุณภาพที่โอบรับทุกชีวิตอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ที่ประชุมยังเน้นย้ำภารกิจที่มีความสำคัญในหลากหลายด้าน ได้แก่ […]

16 เมษายน 2567

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2567 นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้พบหารือกับ นายมาทีอัส คอร์มัน เลขาธิการ OECD เพื่อยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงในการเข้าเป็นสมาชิก และย้ำถึงความพร้อมของไทยที่จะเป็นสมาชิกซึ่งจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการ สศช.) เข้าร่วม หลังจากนั้น รองนายกรัฐมนตรีฯ และคณะ ได้เข้าร่วมการหารือวาระพิเศษกับคณะมนตรีของ OECD เพื่อขอรับการสนับสนุนในการเข้าเป็นสมาชิกและเริ่มกระบวนการพิจารณาโดยเร็ว ในโอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้นำเสนอจุดแข็งของไทยและผลประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับร่วมกันจากการเข้าเป็นสมาชิกของไทย ภายใต้แนวคิด “ประเทศไทยที่พึ่งพาได้และมีพลวัต” (reliable and impactful Thailand) ที่ผ่านมา ไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกที่เข้าร่วมโครงการ Country Programme กับ OECD เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่โปร่งใส มีความสามารถในการแข่งขัน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยไทยเป็นภาคีตราสารทางกฎหมายของ OECD 10 ฉบับ และเข้าร่วมกลไกต่าง ๆ มากถึง 48 กลไก แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นสมาชิก […]

23 กุมภาพันธ์ 2567

การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน “ประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิก OECD”

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างความตระหนักรู้ในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic and  Co-operation Development: OECD) ของประเทศไทย ให้กับภาคเอกชน ณ โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถา ในหัวข้อ “ประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิก OECD” และมี  นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เข้าร่วม  โดยการประชุมฯ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 120 คน ประกอบด้วย ผู้แทนภาคเอกชน อาทิ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและสื่อมวลชน โดยได้มีการถ่ายทอดสดการประชุมผ่านทาง Facebook LIVE ของ สศช. อีกทางหนึ่งด้วย ในโอกาสนี้ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้กล่าวนำเสนอเกี่ยวกับความจำเป็นของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยเฉพาะด้านมาตรฐานที่จะทำให้ไทยอยู่ในกฎ ระเบียบ และกติการะหว่างประเทศ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสและเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก โดย OECD […]

7 กุมภาพันธ์ 2567

สศช. เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ Business at OECD (BIAC) Southeast Asia Meeting

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 นายธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ (กปร.) ในฐานะผู้แทน สศช. ได้เข้าร่วมการประชุม Business at OECD (BIAC) Southeast Asia Meeting ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้แทน BIAC Southeast Asia ผู้แทนสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council: ASEAN-BAC) และผู้แทนสมาคมหอการค้าและอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย (KADIN) และผู้แทน South Asia/Southeast Asia Division ของ OECD เข้าร่วมการประชุม BIAC เป็นเครือข่ายภาคเอกชนจากประเทศสมาชิก OECD และผู้สังเกตการณ์ภายนอก ซึ่งรวมถึงองค์กรจากประเทศอาเซียนสององค์กร ได้แก่ สมาคมหอการค้าและอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย และสภาธุรกิจสิงคโปร์ โดย BIAC มีส่วนร่วมกับ OECD ในการให้ความเห็นจากมุมมองของภาคธุรกิจ รวมถึงด้านความร่วมมือกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการดำเนินงานความร่วมมือใน OECD […]

7 ธันวาคม 2566

การจัดประชุมหารือระดับสูงและนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ของประเทศไทยระหว่างไทยและ OECD

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) จัดให้มีการประชุมหารือระดับสูงและนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ของประเทศไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2566  ณ ห้องประชุมรอยัล มณียา บอลรูม โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ โดยได้รับเกียรติจากนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในการเปิดการประชุม รวมทั้ง Dr. Luiz de Mello, Director of the Policy Studies, Economics Department, OECD ได้นำเสนอผลการศึกษารายงานการสำรวจและประเมินสถานะเศรษฐกิจไทย ฉบับที่ 2 (The Second OECD Economic Survey of Thailand) และนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำเสนอเกี่ยวกับข้อคิดเห็นต่อรายงานการสำรวจและประเมินสถานะเศรษฐกิจไทย ฉบับที่ 2 รวมถึงความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา นอกจากนี้ ในงานยังได้มีการเสวนาวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในช่วงที่หนึ่งเป็นการเสวนาวิชาการเรื่อง Key […]

ความสัมพันธ์ไทย-OECD

 ที่มาและความสำคัญ

2565

มติ ครม. 15 ก.พ. 2565 รับทราบผล Country Programme (CP) ระยะที่ 1 และมอบหมายให้ สศช. และ กต. จัดทำ CP ระยะที่ 2 โดยผลการศึกษาของ TDRI พบว่าไทยจะได้รับประโยชน์จากการเข้าเป็น full member มากกว่าเข้าร่วมแบบ non-member

 มีนาคม 2566

การลงนาม MoU โครงการ CP ระยะที่ 2 จะช่วยผลักดันให้ไทยเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD อย่างต่อเนื่อง ยกระดับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น อันจะทำให้ไทยเข้าใกล้การเป็นสมาชิก OECD มากขึ้น

เมษายน 2566

สศช. และ กต. หารือกับผู้แทน OECD เกี่ยวกับกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกของไทย สรุปผลการหารือได้ว่าไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อมที่จะเข้าเป็นสมาชิก OECD เนื่องจากมีการพัฒนามาตรฐานภายในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง OECD ยังมีท่าทีเชิงบวกต่อการเข้าเป็นสมาชิกของไทย ซึ่งสรุปผลการหารือได้ว่าไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อมที่จะเข้าเป็นสมาชิก OECD

พฤษภาคม 2566

สศช. และ กต. จัดประชุมหารือกับหน่วยงาน เพื่อชี้แจงและขอรับข้อมูลการประเมินความพร้อมของหน่วยงาน ตามกรอบการพิจารณาการเข้าเป็นสมาชิก OECD (Framework for the Consideration of Prospective Members)

ธันวาคม 2566

มติ ครม. 26 ธ.ค. 2566 เห็นชอบร่าง หนังสือแสดงเจตจำนงของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD  และมอบหมายให้ สศช.+ กต. เป็นหน่วยงานประสานหลัก ในการขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิกฯ

8 กุมภาพันธ์ 2567

นรม. ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย โดยมี นรม. เป็นประธาน และ สศช.+ กต. เป็นฝ่ายเลขานุการ

16 เมษายน 2567

ประเทศไทยได้ยื่นต้นฉบับหนังสือแสดงเจตจำนงของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD

17 มิถุนายน 2567

OECD มีมติเปิดกระบวนการหารือกับไทย (accession discussions) เพื่อเชิญไทยเข้าสู่กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD (accession process) ต่อไป

กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD

กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD แบ่งเป็น 2 ระยะหลัก ได้แก่ กระบวนการสมัครเข้าเป็นสมาชิก (Pre-accession Process) และกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก (Accession Process)

ที่มาและความสำคัญ

Factsheet การเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย

Factsheet การเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย สถานะ ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2567

Roadmap for the OECD Accession Process of Thailand

กรอบการพิจารณาการเข้าเป็นสมาชิก OECD

(Framework for the Consideration of Prospective Members)

ประกอบด้วยเงื่อนไข 5 ประการ เพื่อใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย ประกอบด้วย

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมที่ผ่านมา

การประชุมหารือเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย โดย รศช. วันฉัตร สุวรรณกิตติ
ปาฐกถา เรื่อง ประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดย นพ. พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี การดำเนินงานของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดย นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการ สศช. ประโยชน์และผลกระทบจากการเข้าเป็นสมาชิก OECD และแนวทางการเตรียมความพร้อมของภาคเอกชน เพื่อรับมือและปรับตัว ต่อการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย โดย นายสุทธิเกตตื์ ทัดพิทักษ์กุล ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประโยชน์และผลกระทบจากการเข้าเป็นสมาชิก OECD และแนวทางการเตรียมความพร้อมของภาคเอกชน เพื่อรับมือและปรับตัวต่อการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย “ด้านการแข่งขันทางการค้า” โดย ดร.อัครพล ฮวบเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการต่างประเทศ สำนักงาน กขค. บทบาทของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนประเทศไทยผ่านการเข้าร่วมการเป็นสมาชิก OECD และประเด็นที่ภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐดำเนินการ โดย ดร.ภก.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

Frequently asked questions

บางครั้ง เราอาจเห็น คำว่า “OCDE” อย่าเพิ่งเข้าใจว่าเขาเขียนผิด เพราะเขาอาจจะเขียนภาษาฝรั่งเศสเนื่องจาก “OCDE” (โอ-เซ-เด-เออ) เป็นภาษาฝรั่งเศสที่ย่อมาจาก Organisation de cooperation et de developpement economiques และหากเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็คือคำว่า “OECD” (โอ-อี-ซี-ดี) ซึ่งมาจาก Organisation for Economic Co-operation and Development

Pros

  • ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างหลายมิติ และมีมาตรฐานเทียบเท่าสากล
  • เพิ่มการแข่งขันทางการค้า และโอกาสเข้าถึงตลาดประเทศสมาชิก
  • GDP ของไทยจะเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 คิดเป็นมูลค่า 2.7 แสนล้านบาท ในปี 2563
  • เข้าถึงฐานข้อมูลเศรษฐกิจโลกมากขึ้น
  •  ได้รับคำปรึกษาและความช่วยเหลือทางวิชาการจาก OECD อย่างใกล้ชิด
  •  สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและส่งเสริมบทบาทไทยในเวทีโลก

Cons

  • ต้องเสียค่าสมาชิกรายปี ประมาณ 3 – 7 ล้านยูโร/ปี ขึ้นอยู่กับขนาดเศรษฐกิจของประเทศ
  • การเข้าเป็นสมาชิกอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ในบางเรื่อง อาทิ ความจำเป็นในการเปิดเผย  ข้อมูล และ การไม่สามารถเลือกปฏิบัติได้ (non-discrimination)
  • OECD เปรียบเสมือน think thank ที่เป็นแหล่งรวม (platform) ของผู้เชี่ยวชาญและคลังข้อมูลหลากหลาย ซึ่งประเทศต่างๆ สามารถ ขอรับคำปรึกษาหรือใช้เป็นแหล่งความรู้ในการจัดการปัญหาด้านต่างๆ ได้
  • จุดเด่นของ OECD คือการทำงานในลักษณะ Committee ที่จะมี ผู้เชี่ยวชาญครอบคลุมหลายสาขา เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ตามบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปจุดประสงค์
  • ไม่มีระบบลงโทษประเทศสมาชิกในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานร่วมกัน แต่จะใช้กลไก peer review ในการประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐาน และให้ความเห็นเชิงวิชาการ
  • ไม่มีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิก แต่จะเน้น การหารือเพื่อกำหนดมาตรฐานและสนับสนุนนโยบายเพื่อช่วยพัฒนาความอยู่ดีกินดี เสริมสร้างโลกที่แข็งแรง สะอาด และยุติธรรมมากขึ้น ตาม motto ที่ว่า “Better policies for better lives”
  • งานวิจัย TDRI ระบุว่า หากไทยเข้าเป็นสมาชิกจะทำให้ความเหลื่อมล้ำลดลงเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่า การเข้าเป็นสมาชิก OECD ไม่ทำให้ความเหลื่อมลำ้ของไทยเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ
  • การเข้าเป็นสมาชิกมีทั้งผู้ได้/เสียประโยชน์ ดังนั้น ไทยอาจพิจารณาจัดทำข้อสงวนใน ประเด็นที่ต้องคงไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ รวมถึงภาครัฐต้องมีมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้วย
  • ตัวอย่างข้อสงวนที่คอสตาริก้าซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทยได้จัดทำ อาทิ
    • การอนุญาตให้ชาวต่างชาติใช้ที่ดินดำเนินธุรกิจได้เฉพาะบางพื้นที่
    •  การประกอบอาชีพเฉพาะทาง เช่น แพทย์ วิศวกร ต้องดำเนินการตามข้อกำหนด ภายในประเทศเท่านั้น
    • กิจการด้านขนส่งทางบกภายในประเทศสามารถดำเนินการได้เฉพาะบริษัทของ คอสตาริก้า โดยบริษัทนั้นต้องมีถือหุ้นเป็นชาวคอสตาริก้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 51
  • ไทยมีความร่วมมือกับ OECD มายาวนานกว่า 20 ปี มีการปรับมาตรฐาน ให้สอดคล้องกับ OECD ระดับหนึ่งแล้ว ผ่านการดำเนินโครงการ Country Programme ระยะที่ 1 (61-64) และ ระยะที่ 2 (66-68)
  •  ไทยให้การรับรองตราสารของ OECD แล้ว 11/271 ฉบับ และเพิ่มระดับสถานะใน Committee มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ ปี 2564 สคก. ได้รับสถานะ Participant ใน Regulatory Committee
  • OECD จัดให้ไทยอยู่ในระดับ tier 1 ที่ OECD สนใจจะเชิญเข้าเป็นสมาชิก
  • กระบวนการเข้าสู่การเป็นสมาชิก OECD อาจมีความเกี่ยวข้องกับมาตรา 178 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในประเด็นหนังสือ สัญญาที่จะดำเนินการร่วมกับองค์การระหว่างประเทศ
  • ดังนั้น จึงอาจมีการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาด้วย โดยรายละเอียดจะมีการหารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป

สศช. และ กต. จะหารือกับ OECD และจะเชิญหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือ พร้อมแสดงเหตุผล/ข้อห่วงกังวลที่ไทยอาจไม่สามารถปรับตาม OECD ได้ ซึ่งหน่วยงานสามารถเจรจาเพื่อจัดทำข้อสงวนบางประเด็น โดยยึดผลประโยชน์ของไทยเป็นที่ตั้ง

  • ไม่มีประเทศที่ไม่ผ่านมาตรฐานของ OECD แล้วโดนบอกยกเลิก มีเพียงเหตุการณ์ ภายในประเทศนั้น ๆ ที่ทำให้ OECD ประกาศยุติกระบวนการ Accession และการที่ประเทศสมาชิก Veto ประเทศผู้สมัคร เพราะความขัดแย้งส่วนตัว
  •  รัสเซีย คือประเทศที่ OECD ประกาศยุติกระบวนการ Accession ไปเมื่อปี 2014 เนื่องจากวิกฤตการณ์ไครเมีย โดยก่อนหน้านี้รัสเซียได้เข้ากระบวนการ Accession มาตั้งแต่ปี 2007
  • โครเอเชีย คือประเทศที่ถูก Veto แต่สุดท้ายก็ได้รับมติเอกฉันท์ (consensus) ให้เข้ากระบวนการ Accession โดยปี 2017 โครเอเชียได้ยื่นเจตจำนงเข้าเป็นสมาชิก แต่ถูกฮังการี Veto เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความขัดแย้งกันเรื่องคดีทุจริตบริษัทน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ปี 2018 ฮังการียุติการคัดค้านการเป็นสมาชิกทำให้โครเอเชียได้รับมติเอกฉันท์ในการเข้ากระบวนการ Accession ไปเมื่อปี 2022

งานวิจัย TDRI ระบุว่า จากการประเมินเศรษฐกิจของ 7 ประเทศสมาชิกที่มีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทย พบว่า การเข้าเป็นสมาชิกช่วยเพิ่มผลิตภาพ โดยรวมของประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ GDP โดยตรงร้อยละ 0.05 และเศรษฐกิจขยายตัวสุทธิร้อยละ 1.6 ในช่วง 5 ปีแรก

การยกระดับสถานะความร่วมมือ เป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นของไทยที่ต้องการจะมีความร่วมมือกับ OECD ในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะสถานะ Associate ซึ่งเทียบเท่ากับการเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบ (full member) ของ OECD จึงนับเป็นความคุ้มค่าที่จะแสดงให้ประเทศสมาชิก OECD เห็นถึงความมุ่งมั่นของไทย

เราไม่ควรมองว่าการเข้าเป็นสมาชิก OECD เป็นการจัดทำ FTA หรือการได้-เสียประโยชน์ เนื่องจากการเข้าเป็นสมาชิก OECD ไม่เท่ากับการจัดทำ FTA และไม่ได้เป็น FTA โดยธรรมชาติ แต่เป็นการสร้างมาตรฐานร่วม การยกระดับธรรมาภิบาล ซึ่งอาจช่วยสนับสนุนให้เกิดการจัดทำ FTA ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ปัจจุบัน บัญชีท้ายของ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เป็นแบบ Negative List List (อนุญาตทั้งหมดยกเว้นเรื่องที่สงวน) ตามที่ OECD ประสงค์จะให้เป็นแล้ว ยกเว้นบัญชี 3 (21) ที่ยังเป็น Positive List (สงวนทั้งหมดยกเว้นเรื่องที่อนุญาต) อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ อยู่ระหว่างกระบวนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งคาดว่าจะประเมินผลแล้วเสร็จภายในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์อาจพิจารณานำผลการประเมินดังกล่าว มาประกอบการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของ OECD และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย นอกจากนี้ ยังสามารถนำ Sunset Clauses ซึ่งเป็นบทบัญญัติกำหนดการสิ้นสุดการใช้ของกฎหมาย มาใช้กำหนดการสิ้นสุดระยะเวลาในการบังคับใช้ข้อสงวน เพื่อเป็นการสร้างช่วงเวลาปรับเปลี่ยน (Transition period) เพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีระยะเวลาเพียงพอต่อการปรับตัวหรือการดำเนินงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD

OECD มีคณะกรรมการที่ชื่อว่า “Regional Development Policy Committee” ทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายระดับภูมิภาคซึ่งรวมถึงการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยสามารถแสดงความประสงค์เข้าร่วมคณะกรรมการดังกล่าวได้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD ต่อไป

กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ไม่มีกรอบระยะเวลาที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปฏิรูปการดำเนินงานของประเทศผู้สมัครให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD โดยคณะกรรมการของ OECD ในแต่ละด้านจะเป็นผู้ประเมินว่า ประเทศผู้สมัครได้ดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD ตามที่กำหนดไว้ใน Accession Roadmap เรียบร้อยแล้ว จึงจะออกจดหมายเชิญให้ประเทศผู้สมัครยอมรับข้อผูกพันทางกฎหมายและเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยสมบูรณ์ต่อไป

ไม่น่าเกิดข้อขัดแย้ง เนื่องจากประเทศสมาชิก OECD ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เป็นสมาชิก WTO อีกทั้ง WTO ยังมีความร่วมมือใกล้ชิดกับ OECD และมีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ใน OECD Trade Committee อีกด้วย

ควรจัดสัมมนาร่วมระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้มากยิ่งขึ้น มุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนและการก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านผลกระทบต่อผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Young Entrepreneur) ซึ่งเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

ทั้งนี้ สศช. จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย ให้กับภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยอาจเชิญผู้แทนสภาหอการค้าไทยมาร่วมเป็นผู้อภิปรายในการประชุมฯ โดยกำหนดจะจัดขึ้นในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567