เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567 นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมคณะทางานขับเคลื่อนการดาเนินงานด้านการศึกษาและพัฒนาทักษะเพื่อสนับสนุนกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย โดยมีผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยเฉพาะการดาเนินงานด้านการศึกษาที่ ศธ. มีความร่วมมือกับ OECD มาอย่างต่อเนื่อง
นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงความสาคัญของการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการศึกษาไทย ทั้งระบบการศึกษา ทักษะการเรียนของนักเรียน และทักษะการสอนของครู ซึ่งที่ผ่านมา ประเทศไทยได้นามาตรฐานของ OECD มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน เช่น โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) ที่เน้นการประเมินนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริง เพื่อนาไปใช้ในการปรับปรุงนโยบายและหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะสม นอกจากนี้ รองปลัดฯ ยังเน้นย้าว่าการเข้าเป็นสมาชิก OECD จะนามาซึ่งองค์ความรู้เพื่อพัฒนาแผนการศึกษาไทย โดย ศธ. พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนความร่วมมือกับ OECD และจาเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของไทย ตลอดจนตอบสนองต่อนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข”
ในโอกาสนี้ ผู้แทน สศช. ได้รับเชิญให้กล่าวบรรยายความก้าวหน้าในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมการจัดทา Initial Memorandum (IM) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยไทยต้องประเมินความสอดคล้องของกฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติภายในประเทศกับมาตรฐานของ OECD ว่าสอดคล้องกันมากน้อยเพียงใด หลังจากนั้น OECD จึงจะเริ่มดาเนินการประเมินทางเทคนิคเชิงลึกกับไทย (Technical Review) โดยให้ข้อเสนอแนะแก่ไทยในการปรับปรุงการดาเนินงานให้สอดคล้องกับมาตราฐานของ OECD อันจะนาไปสู่การเข้าเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตลอดกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก หน่วยงานไทยต้องดาเนินงานร่วมกับ OECD อย่างใกล้ชิดและเข้มข้น เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นของไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD
หลังจากนั้น ผู้แทน ศธ. ได้กล่าวถึงการดาเนินความร่วมมือกับ OECD ในด้านการศึกษาที่จะช่วยสนับสนุนกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก ได้แก่ (1) การดาเนินโครงการ OECD-Thailand Country Programme (CP) ระยะที่ 2 ที่ ศธ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการย่อย 3 โครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบายการศึกษาของไทย ทั้งคุณภาพสถิติด้านการศึกษา การออกแบบบทเรียน และการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาทักษะ และ (2) การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ Education Policy Committee (EDPC) ในฐานะ Invitee มาตั้งแต่ปี 2562 โดยคณะกรรมการดังกล่าวเป็นหนึ่งใน 26 คณะกรรมการหลักของ OECD ที่จะดาเนินการประเมินการเข้าเป็นสมาชิกของไทยอีกด้วย
ที่ผ่านมา ผู้แทน ศธ. เคยหารือร่วมกับ OECD เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติด้านการศึกษาของไทย เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD ซึ่ง OECD ให้ข้อมูลว่ามาตรฐานด้านการศึกษาของ OECD ไม่มีข้อตัดสินใจ (decision) หรือความตกลงระหว่างประเทศ (international agreement) ซึ่งเป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย มีเพียงข้อเสนอแนะ (recommendation) ที่ประเทศไทยจะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายและแนวปฏิบัติภายในประเทศให้สอดคล้องกับ OECD เท่านั้น โดยเฉพาะการจัดทาระบบข้อมูลด้านการศึกษา และการแชร์ข้อมูลให้กับประเทศสมาชิก OECD ซึ่งหากไทยมีข้อห่วงกังวลเรื่องการแชร์มูลหรือสถิติต่าง ๆ สามารถเจรจาเพื่อจัดทาข้อสงวนกับ OECD ได้ อย่างไรก็ตาม OECD มีระบบคุ้มครองความปลอดภัยของข้อมูลค่อนข้างสูง ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้บุคคลภายนอกเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย
ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับการยกระดับความร่วมมือกับ OECD ผ่านการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ OECD ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่นอกเหนือจาก EDPC รวมถึงการเข้าร่วมโครงการวิจัยและระบบฐานข้อมูลของ OECD (Education at a Glance) และโครงการทดสอบอื่น ๆ เช่น การทดสอบ TALIS ซึ่งเป็นการประเมินศักยภาพและทักษะของครูผู้สอน และการทดสอบ PIAAC ซึ่งเป็นการทดสอบทักษะของประชากรวัยผู้ใหญ่ โดยที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าไทยควรพิจารณาเข้าร่วมโครงการความร่วมมือด้านการศึกษาอื่น ๆ ของ OECD ควบคู่ไปกับการดาเนินกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการดาเนินการซึ่งกันและกัน และเพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับผู้เข้าร่วมโครงการจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
การดาเนินกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทยในด้านการศึกษา มิใช่เพียงเรื่องของ ศธ. เท่านั้น แต่จาเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ อว. และ รง. ที่มีภารกิจคาบเกี่ยวด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยแรงงาน รวมถึงภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เช่น องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดาเนินงานของ ศธ. เพื่อให้การขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน และบรรลุวัตถุประสงค์ของการเป็นสมาชิก OECD ในอนาคต
สามารถสืบค้นรายละเอียดของการดาเนินงานด้านการศึกษาของ OECD ได้ที่
https://www.oecd.org/en/about/directorates/directorate-for-education-and-skills.html
สามารถติดตามความก้าวหน้าการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย ได้ที่ bit.ly/43SdmE0
bit.ly/43SdmE0
TH2OECD