ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก
APEC
ข่าวความเคลื่อนไหวที่สําคัญ
การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2567 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู
เมื่อวันที่ 4-5 มีนาคม 2567 สาธารณรัฐเปรู ในฐานะเจ้าภาพประชุมเอเปค ปี 2567 ได้จัดการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 1/2567 ซึ่งอยู่ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1 (Third Senior Officials’ Meeting: SOM1) ระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2567 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู โดยมีนายธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สศช. เป็นผู้แทนฝ่ายไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจฯ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยมีสรุปสาระสำคัญการประชุม ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2567 ที่ประชุม EC ได้หารือถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ซึ่งยังต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ อาทิ เสถียรภาพทางการเงินจากหนี้ที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเติบโตของผลผลิตที่ชะลอตัว และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งร่วมกันหาแนวทางเพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าวผ่านการดำเนินงานของกลไกต่าง […]
การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 2/2566
เมื่อวันที่ 14-15 สิงหาคม 2566 สหรัฐอเมริกา ในฐานะเจ้าภาพประชุมเอเปค ปี 2566 ได้จัดการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 2/2566 ซึ่งอยู่ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3 (Third Senior Officials’ Meeting: SOM3) ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 21 สิงหาคม 2566 ณ นครซีแอตเทิล มลรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยมีนายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการ สศช. เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจฯ ดังกล่าว และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมได้มีการหารือกันในประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจ (EC) ครั้งที่ 2/2566 การประชุม EC จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือถึงความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและขับเคลื่อนวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค (Enhanced APEC Agenda for Structural Reform: EAASR) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปค […]
การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 1/2566
นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สศช. เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 1/2566 ร่วมกับอีก 20 เขตเศรษฐกิจเอเปค ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2566 ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1 ณ เมืองปาล์มสปริงส์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2566 ที่ประชุม EC ได้หารือถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาชิกเอเปคในการรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนกลไกของ EC อาทิ การยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค (Enhanced APEC Agenda for Structural Reform: EAASR) และกลุ่มเพื่อนประธาน (Friend of the Chair :FotC) ตลอดจนหารือถึงทิศทางการดำเนินงานในปีนี้ผ่านการนำเสนอแผนการดำเนินงาน (work plan) […]
การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Committee) ครั้งที่ 1/2565 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมในคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการหลักของเอเปค ในช่วงที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3 และการประชุมที่เกี่ยวข้องซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีสาระการประชุมที่สำคัญ ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 2 (EC2) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2565 ได้มีการหารือเกี่ยวกับการขับเคลื่อนประเด็นด้านการปฏิรูปโครงสร้างภายใต้การยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค (Enhanced APEC Agenda on Structural Reform: EAASR) และหารือแนวทางในการจัดทำรายงานระยะครึ่งแผน (EAASR mid-term review) ตลอดจนหารือประเด็นที่ภูมิภาคให้ความสนใจ ทั้งเรื่องการฟื้นตัวที่ยั่งยืนและมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจทัลในการส่งเสริมธรรมาภิบาลภาครัฐ แนวทางในการดำเนินงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ นโยบายการแข่งขันทางการค้า แนวปฏิบัติด้านบรรษัทภิบาลที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพเอเปค ดร.วันฉัตรฯ ได้เสนอหัวข้อการจัดทำรายงานเศรษฐกิจเอเปคประจำปี ๒๕๖๖ (2023 APEC Economic Policy Report) […]
ผลการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2563 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2563 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 13 – 17 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ประเทศมาเลเซีย ได้แก่ 1. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนานโยบายกำกับเศรษฐกิจแบ่งปันอย่างมีนวัตกรรม (Workshop on Innovative Regulatory Policy Development :APEC Economies’ Approaches on Sharing Economy) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนานโยบายกำกับเศรษฐกิจแบ่งปันของเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคให้สอดรับกับการดำเนินธุรกิจแบบดิจิทัลที่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น อาทิ การกำหนดมาตรฐาน การออกกฎหมาย/กฎระเบียบ การจัดเก็บภาษี และการคุ้มครองผู้บริโภคให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 2. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการหาข้อสรุปสำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติการเอเปค เรื่อง ความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจ ระยะที่ 3 (Workshop to Finalize the Third APEC Ease of Doing Business (EoDB) Action Plan) เพื่อหาข้อสรุปในการจัดทำแผนปฏิบัติการเอเปคฯ […]
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแผนงาน APEC
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 21 เขตเศรษฐกิจได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกง นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย จีนไทเป ชิลี เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี เปรู รัสเซีย และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคี สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ของภูมิภาคและของโลก ด้วยการลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกด้านการค้า การบริการ และการลงทุนระหว่างเขตเศรษฐกิจ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ในการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปคหรือ Economic Committee (EC) พร้อมกับขับเคลื่อนวาระเกี่ยวกับการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค
การยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค (Enhanced APEC Agenda for Structural Reform: EAASR) ปี พ.ศ. 2564 – 2568 (ค.ศ. 2021 – 2025) ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนให้เขตเศรษฐกิจดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขจัดอุปสรรคด้านการลงทุน ตลอดจนส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีพลวัตและเชื่อมต่อกันมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งดำเนินการ ดังนี้
การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมตลาดและการค้าที่มีการแข่งขันและเป็นระบบ
ช่วยเหลือให้ธุรกิจสามารถฟื้นฟูและมีความสามารถในการกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้เมื่อเจอกับวิกฤตในอนาคต
รับรองว่าทุกกลุ่มในสังคมจะสามารถเข้าถึงโอกาสสุขภาวะที่ดีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทั่วถึง/ยั่งยืน
ส่งเสริมนวัตกรรม เทคโนโลยี และทักษะที่จะส่งเสริมผลิตภาพ การเข้าสู่ระบบดิจิทัล การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความยืดหยุ่น
คณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (EC) มีภารกิจหลักในการสนับสนุนองค์ความรู้ด้านแนวโน้มและความท้าทายทางเศรษฐกิจให้แก่รัฐมนตรีเอเปคและกรอบการประชุมอื่น ๆ ของเอเปค ผ่านการให้มุมมองที่ครอบคลุม การวิเคราะห์แนวโน้มทางเศรษฐกิจเชิงลึก และความท้าทายที่ส่งผลต่อภูมิภาค รวมทั้งการส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 ทั้งนี้ EC ขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านกลุ่มย่อย (Sub-forum) และกลุ่มเพื่อนประธาน (Friend of the Chair: FotC) ประกอบไปด้วย
1.
กลุ่มย่อยด้านนโยบายการแข่งขันและกฎหมาย
(Competition Policy and Law Group: CPLG Sub-forum)
2.
กลุ่มเสริมสร้างความเข้มแข็งโครงสร้างด้านเศรษฐกิจและกฎหมาย
(Strengthening Economic Legal Infrastructure: SELI)
3.
กลุ่มความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ
(Ease of Doing Business: EoDB)
4.
กลุ่มกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทและบรรษัทภิบาล
(Corporate Law and Governance: CLG)
5.
กลุ่มการปฏิรูปกฎระเบียบ
(Regulatory Reform: RR)
6.
กลุ่มธรรมาภิบาลภาครัฐ
(Public Sector Governance: PSG)
นอกจากนี้ EC ยังมีการดำเนินงานการจัดทำรายงานนโยบายเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Policy Reports: AEPRs) ซึ่งเป็นรายงานประจำปี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อเสนแนะเชิงนโยบายทางเศรษฐกิจ โดยในปี 2566 ประเทศไทยมีภารกิจในการเป็นผู้นำร่วมของคณะทำงานหลัก (Co-Lead of the Core Team) ร่วมกับสหรัฐอเมริกาในการจัดทำรายงานในหัวข้อ Structural Reform and Enabling Environment for Business for Inclusive, Resilient and Sustainable Business ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี และนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจที่ยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเปค