OECD

ข่าวความเคลื่อนไหวที่สําคัญ

30 สิงหาคม 2567

การประชุมเผยแพร่รายงานการศึกษาและข้อเสนอแนะ โครงการ Reinforcing Thailand’s Anti-Corruption framework ภายใต้ Country Programme ระยะที่ 2

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) จัดการประชุมเผยแพร่รายงานการศึกษาและข้อเสนอแนะของโครงการ Reinforcing Thailand’s Anti-Corruption Framework ซึ่งเป็นหนึ่งใน Country Programme (CP) ระยะที่ 2 ภายใต้สาขาความร่วมมือหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้ภาคส่วนต่าง ๆ รับทราบและนำมาปรับใช้ในการดำเนินงานภายในประเทศ โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD โครงการ Reinforcing Thailand’s Anti-Corruption Framework ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับกรอบการดำเนินการด้านการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐาน OECD และเพื่อส่งเสริมการเข้าร่วมในคณะทำงานว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนในการทำธุรกรรมธุรกิจระหว่างประเทศของ OECD (OECD Working Group on Bribery in International Business Transactions (WGB)) จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยควรพิจารณาดำเนินการเพื่อการพัฒนากรอบของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการต่อต้านสินบนระหว่างประเทศ เช่น […]

7 สิงหาคม 2567

สภาพัฒน์หารือหน่วยงานรัฐ เตรียมพร้อมเดินหน้าตามแผนการเข้าเป็นสมาชิก OECD

          เมื่อวันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดการประชุมหารือเกี่ยวกับการเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย กับหน่วยงานภาครัฐ ณ สศช. ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางในการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการ OECD จำนวน 26 คณะ ในกระบวนการจัดทำข้อตกลงเบื้องต้น (Initial Memorandum: IM) และการประเมินทางเทคนิคเชิงลึก (Technical Review) ตามแผนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย (Roadmap for the OECD Accession Process of Thailand)  โดยมีนายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม และมีผู้แทนจาก 24 กระทรวง/หน่วยงาน เข้าร่วม           ในโอกาสนี้ รองเลขาธิการฯ ได้กล่าวถึงสถานะการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา โดยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 คณะมนตรี […]

18 มิถุนายน 2567

OECD มีมติเอกฉันท์รับไทยสู่กระบวนการเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ

            เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 คณะมนตรี OECD (OECD Council) ซึ่งประกอบด้วย 38 ประเทศสมาชิก มีมติเอกฉันท์เห็นชอบเปิดการหารือกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก (accession discussion) กับประเทศไทย นับเป็นก้าวสำคัญที่ไทยจะมีบทบาทในเวทีโลกและยกระดับประเทศสู่มาตรฐานสากลในทุกมิติ             ประเทศไทยได้ยื่นต้นฉบับหนังสือแสดงเจตจำนงในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ไปเมื่อเดือนเมษายน 2567 และได้รับเชิญให้เข้าร่วมหารือวาระพิเศษกับคณะมนตรี OECD ซึ่งไทยได้นำเสนอจุดแข็งของประเทศและผลประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับร่วมกันจากการเข้าเป็นสมาชิกของไทย นับเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งต่อมาคณะมนตรี OECD ได้มีมติเอกฉันท์เปิดการหรือกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกกับประเทศไทย จึงทำให้ไทยมีสถานะเป็นประเทศผู้สมัครที่อยู่ในกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD (OECD Accession Country)             สำหรับขั้นตอนถัดไป เลขาธิการ OECD จะจัดทำแผนการเข้าเป็นสมาชิก (Accession Roadmap) ให้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่จะระบุขั้นตอนการเข้าเป็นสมาชิกและรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ โดยตลอดกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก ประเทศไทยจะต้องดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการ OECD (OECD Committee) อย่างใกล้ชิด ในการปรับปรุงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย (legislation) นโยบาย (policies) และแนวปฏิบัติ […]

12 มิถุนายน 2567

สศช. เร่งสร้างความตระหนักรู้เพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่าง OECD กับภาคเอกชนไทย

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำเสนอ เรื่อง การเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ของประเทศไทย ให้กับคณะกรรมการหอการค้าไทย รับทราบและตระหนักรู้ถึงบทบาทของภาคเอกชนซึ่งจะเป็นภาคส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย โดยมีนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกิตติมศักดิ์ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการ และ ดร.กฤษณะ วจีไกรลาศ กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย และกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมรับฟังและให้ข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รองเลขาธิการฯ ได้นำเสนอภาพรวมเกี่ยวกับ OECD ซึ่งรวมถึงโครงสร้างของ OECD ที่เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจ ภาคแรงงาน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ จากประเทศสมาชิกและมิใช่ประเทศสมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะของ Policy Makers and Policy Shapers เพื่อให้ข้อเสนอแนะและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่าง ๆ ร่วมกับ OECD […]

29 พฤษภาคม 2567

สรุปแถลงการณ์การประชุม OECD Ministerial Council Meeting Statement 2024 2-3 พฤษภาคม 2567 OECD Headquarters in Paris

          การประชุม OECD Ministerial Council Meeting 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “ร่วมสร้างกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง: เปิดประเด็นอภิปรายระดับโลกแบบมุ่งเป้า พึ่งพาได้ เพื่อการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน”  (Co-creating the flow of change: Leading Global Discussions with Objective and Reliable Approaches towards Sustainable and Inclusive Growth) ซึ่งมีประเทศญี่ปุ่นเป็นประธาน โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้           ผู้แทนระดับกระทรวงที่เข้าร่วมการประชุม OECD Ministerial Council Meeting 2024 ร่วมกันหารือเพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลก อาทิ ด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเข้าไม่ถึงระบบสารสนเทศดิจิทัล การขาดแคลนงบประมาณเพื่อสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุม ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลแบบมีหลักฐานเชิงประจักษ์และการมีมาตรฐานที่สูง พึ่งพาได้ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างสังคมคุณภาพที่โอบรับทุกชีวิตอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ที่ประชุมยังเน้นย้ำภารกิจที่มีความสำคัญในหลากหลายด้าน ได้แก่ […]

16 เมษายน 2567

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2567 นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้พบหารือกับ นายมาทีอัส คอร์มัน เลขาธิการ OECD เพื่อยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงในการเข้าเป็นสมาชิก และย้ำถึงความพร้อมของไทยที่จะเป็นสมาชิกซึ่งจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการ สศช.) เข้าร่วม หลังจากนั้น รองนายกรัฐมนตรีฯ และคณะ ได้เข้าร่วมการหารือวาระพิเศษกับคณะมนตรีของ OECD เพื่อขอรับการสนับสนุนในการเข้าเป็นสมาชิกและเริ่มกระบวนการพิจารณาโดยเร็ว ในโอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้นำเสนอจุดแข็งของไทยและผลประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับร่วมกันจากการเข้าเป็นสมาชิกของไทย ภายใต้แนวคิด “ประเทศไทยที่พึ่งพาได้และมีพลวัต” (reliable and impactful Thailand) ที่ผ่านมา ไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกที่เข้าร่วมโครงการ Country Programme กับ OECD เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่โปร่งใส มีความสามารถในการแข่งขัน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยไทยเป็นภาคีตราสารทางกฎหมายของ OECD 10 ฉบับ และเข้าร่วมกลไกต่าง ๆ มากถึง 48 กลไก แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นสมาชิก […]

23 กุมภาพันธ์ 2567

การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน “ประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิก OECD”

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสร้างความตระหนักรู้ในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic and  Co-operation Development: OECD) ของประเทศไทย ให้กับภาคเอกชน ณ โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถา ในหัวข้อ “ประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิก OECD” และมี  นายพงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เข้าร่วม  โดยการประชุมฯ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 120 คน ประกอบด้วย ผู้แทนภาคเอกชน อาทิ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและสื่อมวลชน โดยได้มีการถ่ายทอดสดการประชุมผ่านทาง Facebook LIVE ของ สศช. อีกทางหนึ่งด้วย ในโอกาสนี้ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้กล่าวนำเสนอเกี่ยวกับความจำเป็นของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยเฉพาะด้านมาตรฐานที่จะทำให้ไทยอยู่ในกฎ ระเบียบ และกติการะหว่างประเทศ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสและเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก โดย OECD […]

7 กุมภาพันธ์ 2567

สศช. เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ Business at OECD (BIAC) Southeast Asia Meeting

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 นายธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ (กปร.) ในฐานะผู้แทน สศช. ได้เข้าร่วมการประชุม Business at OECD (BIAC) Southeast Asia Meeting ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้แทน BIAC Southeast Asia ผู้แทนสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council: ASEAN-BAC) และผู้แทนสมาคมหอการค้าและอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย (KADIN) และผู้แทน South Asia/Southeast Asia Division ของ OECD เข้าร่วมการประชุม BIAC เป็นเครือข่ายภาคเอกชนจากประเทศสมาชิก OECD และผู้สังเกตการณ์ภายนอก ซึ่งรวมถึงองค์กรจากประเทศอาเซียนสององค์กร ได้แก่ สมาคมหอการค้าและอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย และสภาธุรกิจสิงคโปร์ โดย BIAC มีส่วนร่วมกับ OECD ในการให้ความเห็นจากมุมมองของภาคธุรกิจ รวมถึงด้านความร่วมมือกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการดำเนินงานความร่วมมือใน OECD […]

7 ธันวาคม 2566

การจัดประชุมหารือระดับสูงและนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ของประเทศไทยระหว่างไทยและ OECD

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) จัดให้มีการประชุมหารือระดับสูงและนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ของประเทศไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2566  ณ ห้องประชุมรอยัล มณียา บอลรูม โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ โดยได้รับเกียรติจากนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในการเปิดการประชุม รวมทั้ง Dr. Luiz de Mello, Director of the Policy Studies, Economics Department, OECD ได้นำเสนอผลการศึกษารายงานการสำรวจและประเมินสถานะเศรษฐกิจไทย ฉบับที่ 2 (The Second OECD Economic Survey of Thailand) และนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำเสนอเกี่ยวกับข้อคิดเห็นต่อรายงานการสำรวจและประเมินสถานะเศรษฐกิจไทย ฉบับที่ 2 รวมถึงความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา นอกจากนี้ ในงานยังได้มีการเสวนาวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในช่วงที่หนึ่งเป็นการเสวนาวิชาการเรื่อง Key […]

OECD คืออะไร

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา:Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลวิจัยและ คำปรึกษา แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมความมั่นคง ความเท่าเทียม ความเป็นอยู่ที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามวิสัยทัศน์ “Better Policies for Better Lives”

ความเป็นมา

OECD เป็นองค์กรที่พัฒนามาจากองค์รความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งภาคพื้นยุโรป (Organisation of European Economic Cooperation: OEEC) ซึ่งตั้งขึ้นตามแผนการ (Marshall Plan) ในปี 1948 เพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจของประเทศในภาคพื้นยุโรปภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งต่อมาในปี 1961 ได้จัดตั้งเป็น OECD และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

OECD STRUCTURE

คณะมนตรี (Council)

คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิก และผู้แทนจากสหภาพยุโรป และมีเลขาธิการ OECD เป็นประธานโดยคณะมนตรีทำหน้าที่กำกับดูแลและกำหนดทิศทางขององค์กร โดยใช้กลไกการตัดสินใจแบบฉันทามติ

คณะกรรมการ (Committees)

คณะกรรมการ (Committees) ประกอบด้วยคณะกรรมการย่อยกว่า 300 คณะ ครอบคลุมทุกสาขา ทำหน้าที่หารือ สร้างสรรค์ และทบทวนแนวนโยบาย รวมถึงผลกระทบจากการนำนโยบายไปปฏิบัติ พร้อมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้ ประสบการณ์เชิงนโยบาย ผ่านการทำงานร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญ คณะทำงาน และศูนย์อำนวยการ

สำนักเลขาธิการ (Secretariat)

สำนักเลขาธิการ (Secretariat) ประกอบด้วยศูนย์อำนวยการ (directorates) ที่มีผู้ปฏิบัติงานกว่า 3,300 คน ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลและนำเสนอผลการวิเคราะห์พร้อมกับคำแนะนำเชิงนโยบายเพื่อประกอบการหารือของคณะกรรมการตามคำสั่งการของคณะมนตรี

ประเทศสมาชิก: ปัจจุบัน OECD มีสมาชิกทั้งหมด 38 ประเทศ จากภูมิภาคยุโรป อเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา และเอเชียแปซิฟิก ประกอบด้วย

Europe

North America

Latin America

Asia Pacific

ทำความรู้จัก OECD ให้มากขึ้น

มติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง

องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา:Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลวิจัยและ คำปรึกษา แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมความมั่นคง ความเท่าเทียม ความเป็นอยู่ที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามวิสัยทัศน์ “Better Policies for Better Lives”

  1. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจโลก โดยจัดให้มีเวทีสําหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลและ ประสบการณ์เชิงนโยบายระหว่างกัน
  2. รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลสถิติที่สำคัญ โดย OECD จะจัดทำหนังสือเผยแพร่ความรู้ด้านต่าง ๆ เป็น ประจำทุกปี รวมถึงมีฐานข้อมูลเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศทั่วโลก มากกว่า 40 รายการฐานข้อมูล
  3. เป็นแหล่งความรู้และเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกรายประเทศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติ
  4. ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ และให้บริการศึกษาวิจัยแก่องค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ เช่น UN, IMF
  5. กำหนดมาตรฐานของโลกที่ครอบคลุมหลากหลายสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยการกำหนดเป็นตราสารหรือเอกสารอื่น ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก รวมถึงความร่วมมือด้านต่าง ๆ อาทิ ภาษี สิ่งแวดล้อม พลังงาน การศึกษา การต่อต้านคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาล เป็นต้น

ปัจจุบัน OECD มุ่งเน้นการขยายบทบาทและภารกิจไปสู่การจัดการกับประเด็นความท้าทายข้ามพรมแดนในยุคโลกาภิวัตน์ เช่น การส่งเสริมการค้าเสรี การให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา การจัดเก็บภาษีระหว่างประเทศ และการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ

ประเทศไทยได้มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับ OECD ในปี พ.ศ. 2548 โดยไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก (Full participant) ของศูนย์การพัฒนาของ OECD (OECD Development Centre) และมีส่วนร่วมในคณะกรรมการ และคณะทำงานต่าง ๆ ของ OECD ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

โดยตลอดระยะเวลากว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เรียนรู้และปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD และในปี พ.ศ. 2561 ได้มีการลงนํามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างรัฐบาลไทยกับ OECD เพื่อเริ่มดำเนินโครงการ Thailand-OECD Country Programme เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนวาระการปฏิรูปประเทศไทยในด้านต่าง ๆ ตลอดจนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ และสนับสนุนการดำเนินการที่สอดคล้องกับมาตรฐาน OECD อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ซึ่ง ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2564 นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีบทบาทสำคัญใน OECD Southeast Asia Regional Program (SEARP) โดยประสบความสำเร็จในการดำรงตำแหน่งประธานร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลีในช่วงปีพ.ศ. 2561 – 2565

ปัจจุบัน ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการต่ออายุโครงการ Country Programme ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ OECD โดย Thailand-OECD Country Programme ระยะที่ 2 ได้เริ่มดำเนินการในเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ในหลากหลายสาขาได้อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 รวมถึงการช่วยยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ OECD ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น อันจะทำให้ไทยเข้าใกล้การเป็นสมาชิก OECD ในอนาคตอันใกล้

เว็บไซต์ OECD อย่างเป็นทางการ