MJ-CI

กรอบความร่วมมือประเทศลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น
ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

Mekong-Japan Economic and Industrial Cooperation Initiative: MJ-CI

ข่าวความเคลื่อนไหวที่สําคัญ

16 กรกฎาคม 2567

การประชุมกรอบความร่วมมือประเทศลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่นด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายใต้ คณะทำงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก ครั้งที่ 29

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอาเซียนและญี่ปุ่น (AEM-METI Economic and Industrial Cooperation Committee: AMEICC) ได้จัดการประชุมกรอบความร่วมมือประเทศลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ภายใต้คณะทำงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก ครั้งที่ 29 (29th Meeting on Mekong-Japan Economic and Industrial Cooperation under WEC-WG) ณ เวียงจันทน์ สปป. ลาว เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของกรอบความร่วมมือดังกล่าว โดยมีนายสำลี บุษดี (Mr. Samly Boutsady) อธิบดีกรมการอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว เป็นประธานการประชุมร่วมกับ นายยาสุจิ โคมิยามะ (Mr. Yasuji Komiyama) รองอธิบดีสำนักนโยบายการค้าและความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry: […]

4 ตุลาคม 2566

การประชุมกรอบความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ภายใต้คณะทำงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก ครั้งที่ 28

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับ นาย Tetsushi Yoshikawa รองอธิบดีสำนักนโยบายการค้า กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) ร่วมเป็นประธานการประชุมกรอบความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ภายใต้คณะทำงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก ครั้งที่ 28 (28th Meeting on Mekong-Japan Economic and Industrial Cooperation under WEC-WG) พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอาเซียนและญี่ปุ่น (AEM-METI Economic and Industrial Cooperation Committee: AMEICC) สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute) และกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง ได้แก่ สปป.ลาว เมียนมา กัมพูชา และ เวียดนาม ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ  ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าและผลสำเร็จของโครงการภายใต้วิสัยทัศน์การพัฒนาอุตสาหกรรมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงระยะที่ 2 ปี […]

13 กันยายน 2564

การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 13 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (The 13th Mekong-Japan Economic Ministers’ Meeting)

เมื่อวันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรัฐมนตรีประจำกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (MJ-CI Minister) เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 13 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมี ดร.คำเพง สีสมพง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว เป็นประธานการประชุมร่วมกับนายฮิโรชิ คากิยามะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ญี่ปุ่น ร่วมด้วยรัฐมนตรีจากประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงคือ นายปัน สรศักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กัมพูชา นายอ่อง เนียง โอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เมียนมา นายตรัน ก๊วก เฟือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุน เวียดนาม และดาโต๊ะลิม จ๊อก ฮอย เลขาธิการอาเซียน พร้อมด้วย นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะผู้แทนระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของฝ่ายไทย ผู้แทนหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ผู้แทนภาคเอกชนญี่ปุ่นและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และคณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอาเซียน-ญี่ปุ่น (AMEICC) […]

17 กรกฎาคม 2563

การประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีและภาคเอกชน กรอบ MJ-CI ครั้งที่ 13

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีและภาคเอกชนกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่นด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 13 และการประชุมคณะทำงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก ครั้งที่ 1/2563 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Videoconference) ร่วมกับผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านการต่างประเทศ (นายชิเงฮิโระ ทานะกะ) กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) พร้อมด้วยรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐมนตรี 5 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว (นายสมจิต อินทะมิท) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  เมียนมา (นายบราลัต ซิงค์) ปลัดกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา (นายซก โซเพียก) อธิบดีกรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (นายฟาม เฮือง ไม) และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้แทนภาคเอกชน 5 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงและญี่ปุ่น และผู้แทนองค์กรหุ้นส่วนการพัฒนา โดยมีนายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะผู้ประสานงานหลักระดับประเทศ (National Coordinator) กรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่นด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม […]

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือ MJ-CI

กรอบความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (Mekong-Japan Economic and Industrial Cooperation Initiative: MJ-CI) เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขง 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และ เวียดนาม จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2552 มีวัตถุประสงค์เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและการพัฒนาภายในอนุภูมิภาค ซึ่งจะนำไปสู่สันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองผ่านการสนับสนุนของญี่ปุ่น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการเชื่อมโยงห่วงโซ่มูลค่าในอนุภูมิภาค ซึ่งเป็นฐานการผลิตของบริษัทญี่ปุ่นในหลายอุตสาหกรรม อาทิ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมที่ต่อยอดให้ห่วงโซ่มูลค่าในญี่ปุ่น เช่น อุตสาหกรรมอาหาร และท่องเทียวเชิงสุขภาพและการบริการสำหรับผู้สูงอายุ

ปัจจุบันกรอบ MJ-CI มีความร่วมมือใน 3 เสาหลัก ตามวิสัยทัศน์การพัฒนาอุตสาหกรรมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงระยะที่ 2 ปี 2562 – 2566 (Mekong Industrial Development Vision 2.0: MIDV2.0) ได้แก่

ความเชื่อมโยง (Connectivity)

ดิจิทัลและนวัตกรรม (Digital and Innovation)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ขับเคลื่อนด้วยการประชุม 3 ระดับ

การประชุมสุดยอดผู้นำแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น
(Mekong-Japan Summit)

กลไกสูงสุดของกรอบความร่วมมือ โดยจะจัดต่อเนื่องกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนทุกปี

การประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น
(Mekong-Japan Economic Minister’s Meeting )

กลไกระดับนโยบายเพื่อติดตามและกำหนดทิศทางการดำเนินงาน โดยจะจัดต่อเนื่องกับประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน

การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส
(AMEICC WEC-WG )

กลไกสนับสนุนการประชุมระดับสุดยอดผู้นำและรัฐมนตรีโดยจะจัดต่อเนื่องกับประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน

ที่ประชุมกรอบความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่นด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายใต้คณะทำงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก ครั้งที่ 28 (28th Meeting on Mekong-Japan Economic and Industrial Cooperation under WEC-WG) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2566 ณ กรุงเทพฯ ได้รับทราบความก้าวหน้าและผลสำเร็จของโครงการภายใต้วิสัยทัศน์การพัฒนาอุตสาหกรรมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงระยะที่ 2 ปี 2564 – 2566 (MIDV 2.0) อาทิ การเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทาน การปรับปรุงทางหลวงแห่งชาติหมายเลข 5 ของกัมพูชา การสนับสนุนวางแผนแนวทางเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของไทย และการฝึกอบรมเพื่อถ่ายโอนเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงความท้าทายและแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อาทิ วิกฤตพลังงาน การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี ภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน และทักษะของแรงงานในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในระดับที่สูงขึ้น โดยมีวิสัยทัศน์ร่วมสร้างเศรษฐกิจญี่ปุ่น-อาเซียน (ASEAN-Japan economic co-creation vision) เป็นแนวทางในการดำเนินงานร่วมกันต่อไป

แผนการดําเนินงานในปัจจุบัน

วิสัยทัศน์การพัฒนาอุตสาหกรรมในลุ่มแม่น้ำโขง ฉบับที่ 2
(Mekong Industrial Development Vision: MIDV 2.0)

MIDV 2.0 เป็นแนวทางในการดำเนินงานหลักภายใต้กรอบ MJ-CI โดยครอบคลุมช่วงระยะเวลาการดำเนินการระหว่าง พ.ศ. 2564-2568 โดยแผนดังกล่าวมีขึ้นเพื่อตบองสนองต่อบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกและภูมิภาคที่่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาทิ โครงสร้างอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปโดยมีการเข้ามาของเศรษฐกิจดิจิทัล ความต้องการในการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านบริการจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนชนชั้นกลาง รวมไปถึงค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในมิติทางสังคมที่ก่อให้เกิดความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ การขยายตัวของชุมชนเมือง ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ดังนั้นแผน MIDV 2.0 จึงมุ่งเน้นใน 3 เสาหลัก ได้แก่

ความเชื่อมโยง
(Connectivity)

มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางกายภาพ
และปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม

ดิจิทัลและนวัตกรรม
(Digital Innovations)

มุ่งเน้นการยกระดับภาคการผลิตโดยใช้ประโยชน์จาก
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
(SDGs)

ส่งเสริมการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนทางสังคม
และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการขยายตัวของเมือง

แผนปฏิบัติการ (Work Programme)

โครงการต่าง ๆ มุ่งตอบสนองตาม 3 เสาหลักของแผน MIDV 2.0 โดยประกอบไปด้วย

โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง

การพัฒนา SMEs

การพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน

การเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิต

กำหนดการประชุมสำคัญที่ผ่านมาและในอนาคต

ดาวน์โหลดเอกสารต่าง ๆ