แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ
Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program: GMS
ข่าวความเคลื่อนไหวที่สําคัญ
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสวาระพิเศษ แผนงาน IMT-GT และ GMS และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เมื่อวันที่ 20-22 สิงหาคม 2567 นางสาวศศิธร พลัตถเดช ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สศช. ได้เข้าร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสวาระพิเศษ แผนงานการพัฒนา
เขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน
อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการอาเซียน ธนาคารพัฒนาเอเชีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสแผนงาน GMS ณ เมืองยู่สี มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program: GMS) ในฐานะผู้แทนประเทศไทย ณ เมืองยู่สี มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อร่วมหารือถึงการเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงาน GMS ครั้งที่ 8 และความคืบหน้าล่าสุดของแผนงาน GMS โดยมีนายเหลียง เจียนจุน รองอธิบดีกรมกิจการเอเชีย กระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน และนายอัลเฟรโด เปอดิเกโร ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือและการบูรณาการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เป็นประธานการประชุมร่วมกัน พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงและผู้แทนจากทั้ง 6 ประเทศสมาชิกแผนงาน GMS เข้าร่วมการประชุม โดยมีสาระสำคัญดังนี้ ที่ประชุมได้รับทราบว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนมีกำหนดจัดการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงาน GMS ครั้งที่ 8 ณ มณฑลยูนนาน ในเดือนพฤศจิกายน 2567 พร้อมทั้งได้ร่วมกันอภิปรายให้ความเห็นต่อร่างเอกสารยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาของอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง […]
การประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 26
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีประจำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 26 (The 26th GMS Ministerial Conference)
การประชุมระดับรัฐมนตรี แผนงาน GMS ครั้งที่ 25
วันที่ 8 ธันวาคม 2565 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (รมว.กค.) ในฐานะรัฐมนตรีประจำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS Minister) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนเจ้าหน้าที่ไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี แผนงาน GMS ครั้งที่ 25 (The 25th GMS Ministerial Conference) ภายใต้หัวข้อหลักคือ “การเร่งรัดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเพื่อต่อยอด 30 ปี แห่งความสำเร็จของแผนงานจีเอ็มเอสไปสู่การพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน” ซึ่งกระทรวงแผนการและการลงทุน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) โดยมี นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะผู้ประสานงานหลักระดับประเทศ (National Coordinator) แผนงาน GMS เข้าร่วมประชุม ในการประชุมครั้งนี้ มีรัฐมนตรีประจำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS Minister) เข้าร่วมด้วย ได้แก่ นายสก เจนดา โซเพีย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการสภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชา นายเซียง […]
การประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 7 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (The 7th GMS Summit)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2564 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 7 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมี สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ในฐานะประธานการประชุมฯ พร้อมด้วย นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ดร. พันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐเมียนมา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และนายฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และนายมาซาสึกุ อะซาคาวา ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย พร้อมด้วยนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะผู้แทนระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของฝ่ายไทย เข้าร่วมการประชุมในโอกาสนี้ การประชุมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก (Theme) “แผนงาน GMS: พลิกฟื้นความแข็งแกร่งเพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายในทศวรรษใหม่” ซึ่งเน้นย้ำเจตนารมณ์การพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงภายใต้วิสัยทัศน์ “การเป็นอนุภูมิภาคที่มีการบูรณาการมากขึ้น มีความเจริญรุ่งเรือง มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ และไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” ผ่านการชูบทบาทนำและสร้างสรรค์ของไทยในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนในยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยสานต่อความสำเร็จของเสาหลักความร่วมมือ 3 ด้าน (3Cs) ของแผนงาน GMS คือ ความเชื่อมโยง (Connectivity) ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) […]
การประชุมระดับรัฐมนตรี แผนงาน GMS ครั้งที่ 24
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีประจำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS Minister) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนเจ้าหน้าที่ไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี แผนงาน GMS ครั้งที่ 24 (24th GMS Ministerial Conference) ผ่านระบบการประชุมทางไกล ภายใต้หัวข้อหลักคือ “มุ่งปูทางเพื่อการบูรณาการที่เพิ่มขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อความยั่งยืน และความเจริญมั่งคั่งในอนุภูมิภาค GMS” ซึ่งกระทรวงการคลัง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) โดยมี นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานการประชุมเพื่อการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจ แผนงาน GMS ครั้งที่ 11 (11th GMS Economic Corridor Forum) ได้รายงานความสำเร็จของการประชุมดังกล่าว ในโอกาสนี้ด้วย ในการประชุมครั้งนี้ มีรัฐมนตรีประจำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS […]
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแผนงาน GMS
แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program: GMS Program) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่าง 6 ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว จีน (มณฑลยูนนาน และเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง) เมียนมา ไทย และเวียดนาม ริเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2535 โดยการผลักดันของ 6 ประเทศดังกล่าวและได้การสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของแต่ละประเทศ ปัจจุบันแผนงาน GMS ดำเนินงานอยู่ภายใต้ กรอบยุทธศาสตร์แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ.2573 (GMS Economic Cooperation Program Strategic Framework 2030) ซึ่งมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่มีการบูรณาการ รุ่งเรือง ยั่งยืน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
การดำเนินงานของแผนงาน GMS ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งอยู่บน 3 เสาหลักการพัฒนา หรือหลักการ 3Cs ประกอบด้วย
ความเชื่อมโยง (Connectivity)
เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่ยั่งยืนและยกระดับโครงข่ายเส้นทางคมนาคมขนส่งให้เป็นแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic corridors)
ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)
อำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายผู้คนและสินค้าข้าพรมแดน พัฒนาห่วงโซ่การผลิต การเกษตร การท่องเที่ยว และการพัฒนาเมือง
ประชาคม (Community)
สร้างความเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันด้วยการส่งเสริมความร่วมมือข้ามพรมแดนด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
แผนงาน GMS ให้ความสำคัญต่อแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridors) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจข้ามพรมแดนเข้าด้วยกันผ่านโครงสร้างพื้นฐาน การสอดประสานกันทางนโยบาย และการพัฒนากฎระเบียบให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ ผู้คน และเงินทุน ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยมี 3 แนวระเบียงเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่
(1) ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) เป็นเส้นทางหลักเชื่อมโยงประเทศจีนตอนใต้และ สปป.ลาว เพื่อออกสู่ทะเล
(2) ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เป็นเส้นทางเชื่อมโยงเมืองเศรษฐกิจสำคัญระหว่างเวียดนาม สปป.ลาว ไทย และเมียนมา รวมระยะทาง 1,500 กิโลเมตร
(3) ระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) เป็นเส้นทาง เชื่อมโยงเมืองเศรษฐกิจสำคัญระหว่าง ไทย- กัมพูชา- เวียดนาม รวมไปถึงเมียนมา และเวียดนาม – กัมพูชา และลาว
ระเบียงเศรษฐกิจแผนงาน GMS
มี 3 แนวระเบียงเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่
(1) ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) เป็นเส้นทางหลักเชื่อมโยงประเทศจีนตอนใต้และ สปป.ลาว เพื่อออกสู่ทะเล
(2) ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เป็นเส้นทางเชื่อมโยงเมืองเศรษฐกิจสำคัญระหว่างเวียดนาม สปป.ลาว ไทย และเมียนมา รวมระยะทาง 1,500 กิโลเมตร
(3) ระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) เป็นเส้นทาง เชื่อมโยงเมืองเศรษฐกิจสำคัญระหว่าง ไทย- กัมพูชา- เวียดนาม รวมไปถึงเมียนมา และเวียดาม – กัมพูชา และลาว
เป็นกรอบการลงทุนในโครงงานระยะใกล้ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์การพัฒนาของแผนงาน GMS ปัจจุบันดำเนินงานภายใต้กรอบ RIF 2025 ครอบคลุมห้วงปี 2566 – 2568 ประกอบด้วยโครงการ 111 โครงการในทั้ง 6 ประเทศ
คณะทำงานรายสาขา
การดำเนินงานข้ามสาขา
ขับเคลื่อนผ่านกลไกการประชุมที่สำคัญดังนี้
ระดับสุดยอดผู้นำ (Summit)
เป็นกลไกการประชุมสูงสุดโดยผู้นำระดับองค์กร โดยแผนงาน GMS จัดขึ้นทุก 3 ปี เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์โดยรวมของแผนงานและติดตามผลการดำเนินงาน
ระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference)
เป็นกลไกการประชุมโดยรัฐมนตรีประจำแผนงาน GMS ของแต่ละประเทศ จัดขึ้นทุกปี เพื่อติดตามการดำเนินงานที่ผ่านมา และกำหนดแนวทางนโยบายการดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดในการประชุมสุดยอดผู้นำ
ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials’ Meetings)
เป็นกลไกการประชุมสูงสุดในระดับเจ้าหน้าที่แผนงาน GMS จัดขึ้น 3-4 ครั้งในหนึ่งรอบปี เพื่อนำติดตามผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการจากที่ประชุมระดับนโยบาย
คณะทำงานในสาขาต่าง ๆ
(Working Groups)
เป็นการประชุมใน 10 สาขาความร่วมมือหลัก และยังมีคณะทำงานหรือเวทีการหารือที่แยกเฉพาะในแต่ละประเด็น
ฝ่ายเลขานุการ GMS (GMS Secretariat)
เป็นผู้ทำหน้าที่สนับสนุนเชิงวิชาการ การบริหารจัดในภาพรวม และประสานงาน เพื่อขับเคลื่อนแผนงาน GMS โดยมี ADB เป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว
ฝ่ายเลขานุการชาติ GMS
(GMS National Secretariats)
เป็นผู้ประสานงานหลักของแต่ละประเทศสมาชิกแผนงาน GMS โดยจะให้การสนับสนุนการดำเนินภารกิจของแผนงาน GMS และติดตามผลการดำเนินการ
การยกระดับกลไกแผนงาน GMS
การศึกษาเพื่อพัฒนากลไกการขับเคลื่อนแผนงาน GMS อาทิ ยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. 2573 ซึ่งจะนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำ GMS ครั้งที่ 8 ในปี 2567 การยกระดับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน รัฐบาลท้องถิ่น และเครือข่ายองค์ความรู้ในแผนงาน GMS
การรับมือประเด็นความท้าทายร่วมในอนุภูมิภาค
ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อจัดการประเด็นร่วมระดับอนุภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการภายใต้แผนงาน GMS
การเป็นกรอบความร่วมมือที่เปิดกว้าง
การส่งเสริมให้เกิดความสอดคล้องและส่งเสริมกันระหว่างแผนงาน GMS ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลก และอาเซียน ตลอดจนโครงการความร่วมมือระดับภูมิภาคและระดับโลกอื่น ๆ