1. คมนาคมขนส่ง

ที่มาและหลักการ

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหัวใจสำคัญของการคมนาคม การเชื่อมโยงประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งในความคิดริเริ่มแรก ๆ ของโครงการใน GMS ในปี 2535 ประเทศใน GMS ร่วมมือในด้านการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน ดำเนินการผ่านการพัฒนา “ระเบียงเศรษฐกิจ” ได้แก่ ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (NSEC) ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) และระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (SEC) รวมถึงโครงการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน กฎหมายและข้อบังคับ การพัฒนาตลาด และการปรับปรุงเมือง

นอกจากนี้ กรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS 2030 ได้จัดลำดับความสำคัญของแนวทางการขนส่ง การอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดน และการปรับปรุงในด้าน Logistics GMS 2030 มีเป้าหมายที่จะพัฒนาเครือข่ายทางรถไฟ ทะเล แม่น้ำ ท่าเรือภายในประเทศ การลงทุนในสนามบิน การพัฒนาถนนสายรอง ที่จะเชื่อมโยงไปยังถนนสายหลัก

แนวระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridors) แผนงาน GMS

ประกอบด้วย 3 แนวระเบียงเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่

ระเบียงย่อยฝั่งตะวันตก (Western Subcorridor)

คุนหมิง (จีน) – บ่อเต็น (ลาว)/ท่าขี้เหล็ก (เมียนมา) – เชียงราย (ไทย) – กรุงเทพฯ (ไทย)

ระเบียงย่อยกลาง (Central Subcorridor)

คุนหมิง (จีน) – ฮานอย (เวียดนาม) – ไฮฟอง (เวียดนาม)

ระเบียงย่อยฝั่งตะวันออก (Eastern Subcorridor)

หนานหนิง (จีน) – ฮานอย (เวียดนาม)

เมาะละแหม่ง – เมียวดี

แม่สอด – พิษณุโลก – ขอนแก่น – กาฬสินธุ์ – มุกดาหาร

สะหวันนะเขต – แดนสะหวัน

ลาวบาว – ดองฮา – ดานัง 

ระเบียงย่อยกลาง (Central Subcorridor)

กรุงเทพฯ (ไทย) – พนมเปญ (กัมพูชา) – โฮจิมินห์ซิตี้ (เวียดนาม) -วังเตา (เวียดนาม)

ระเบียงย่อยเหนือ (Northern Subcorridor)

กรุงเทพฯ (ไทย) – เสียมราฐ (กัมพูชา) – สตรึงเตร็ง (กัมพูชา) – รัตนคีรี (กัมพูชา) – โอยาดาว (กัมพูชา) – เปล็ยกู (เวียดนาม) – กวีเญิน (เวียดนาม)

ระเบียงย่อยเรียบชายฝั่งตอนใต้ (Southern Coastal Subcorridor)

กรุงเทพฯ (ไทย) – ตราด (ไทย) – เกาะกง (กัมพูชา) – รัตนคีรี (กัมพูชา) – กัมปอต (กัมพูชา) – ฮาเตียน (เวียดนาม) – กามู (เวียดนาม) – นําเชา (เวียดนาม)

เส้นทางเชื่อมต่อกับระเบียงอืื่น (Intercorridor Link)

สีหนุวิล (กัมพูชา) – พนมเปญ (กัมพูชา) – กระแจะ (กัมพูชา) – สตึงแตรง (กัมพูชา) – ดงกระลอร์ (ลาว) – ปากเซ (ลาว) – สะหวันนะเขต (ลาว) ซึ่งเส้นทางนี้จะไปตัดกับ EWEC

ที่มา: https://greatermekong.org/g/economic-corridors-greater-mekong-subregion

ประเด็นความคืบหน้าล่าสุด

คณะทำงานด้านการคมนาคมขนส่งยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ควบคู่ไปกับการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ เพื่อเชื่อมโยงประเทศสมาชิก GMS ในด้านการขนส่ง โดยในปี 2566 ได้มีความคืบหน้าสำคัญในเรื่องการพัฒนาระบบราง โดยผ่านการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ในหัวข้อ การเชื่อมต่อทางรถไฟของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (ระยะที่ 2) ซึ่งได้เสร็จสิ้นในเดือนเมษายน 2566 โดยเป็นการสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของสมาคมการรถไฟของประเทศลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งการจัดทำแผนความพร้อมในการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในมาตรฐานที่เหมาะสมของเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย ผลิตภาพ และคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมของการดำเนินงานการรถไฟ นอกจากนี้ อีกทั้งยังมีการเจรจากรอบข้อตกลงสำหรับการเชื่อมต่อการขนส่งทางรางข้ามพรมแดน และการปรับปรุงยุทธศาสตร์เครือข่ายทางรางข้ามพรมแดนของ GMS

ดาวน์โหลดเอกสารต่าง ๆ

คณะทำงาน 10 สาขา

การดำเนินงานข้ามสาขา