The OECD Thailand Country 
Programme Phase II

ข่าวความเคลื่อนไหวที่สําคัญ

30 สิงหาคม 2567

การประชุมเผยแพร่รายงานการศึกษาและข้อเสนอแนะ โครงการ Reinforcing Thailand’s Anti-Corruption framework ภายใต้ Country Programme ระยะที่ 2

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) จัดการประชุมเผยแพร่รายงานการศึกษาและข้อเสนอแนะของโครงการ Reinforcing Thailand’s Anti-Corruption Framework ซึ่งเป็นหนึ่งใน Country Programme (CP) ระยะที่ 2 ภายใต้สาขาความร่วมมือหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้ภาคส่วนต่าง ๆ รับทราบและนำมาปรับใช้ในการดำเนินงานภายในประเทศ โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD โครงการ Reinforcing Thailand’s Anti-Corruption Framework ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับกรอบการดำเนินการด้านการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐาน OECD และเพื่อส่งเสริมการเข้าร่วมในคณะทำงานว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนในการทำธุรกรรมธุรกิจระหว่างประเทศของ OECD (OECD Working Group on Bribery in International Business Transactions (WGB)) จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยควรพิจารณาดำเนินการเพื่อการพัฒนากรอบของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการต่อต้านสินบนระหว่างประเทศ เช่น […]

7 สิงหาคม 2567

สภาพัฒน์หารือหน่วยงานรัฐ เตรียมพร้อมเดินหน้าตามแผนการเข้าเป็นสมาชิก OECD

          เมื่อวันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดการประชุมหารือเกี่ยวกับการเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย กับหน่วยงานภาครัฐ ณ สศช. ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางในการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการ OECD จำนวน 26 คณะ ในกระบวนการจัดทำข้อตกลงเบื้องต้น (Initial Memorandum: IM) และการประเมินทางเทคนิคเชิงลึก (Technical Review) ตามแผนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย (Roadmap for the OECD Accession Process of Thailand)  โดยมีนายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม และมีผู้แทนจาก 24 กระทรวง/หน่วยงาน เข้าร่วม           ในโอกาสนี้ รองเลขาธิการฯ ได้กล่าวถึงสถานะการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา โดยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 คณะมนตรี […]

18 มิถุนายน 2567

OECD มีมติเอกฉันท์รับไทยสู่กระบวนการเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ

            เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2567 คณะมนตรี OECD (OECD Council) ซึ่งประกอบด้วย 38 ประเทศสมาชิก มีมติเอกฉันท์เห็นชอบเปิดการหารือกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก (accession discussion) กับประเทศไทย นับเป็นก้าวสำคัญที่ไทยจะมีบทบาทในเวทีโลกและยกระดับประเทศสู่มาตรฐานสากลในทุกมิติ             ประเทศไทยได้ยื่นต้นฉบับหนังสือแสดงเจตจำนงในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ไปเมื่อเดือนเมษายน 2567 และได้รับเชิญให้เข้าร่วมหารือวาระพิเศษกับคณะมนตรี OECD ซึ่งไทยได้นำเสนอจุดแข็งของประเทศและผลประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับร่วมกันจากการเข้าเป็นสมาชิกของไทย นับเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการสมัครเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งต่อมาคณะมนตรี OECD ได้มีมติเอกฉันท์เปิดการหรือกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกกับประเทศไทย จึงทำให้ไทยมีสถานะเป็นประเทศผู้สมัครที่อยู่ในกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD (OECD Accession Country)             สำหรับขั้นตอนถัดไป เลขาธิการ OECD จะจัดทำแผนการเข้าเป็นสมาชิก (Accession Roadmap) ให้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่จะระบุขั้นตอนการเข้าเป็นสมาชิกและรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ โดยตลอดกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก ประเทศไทยจะต้องดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการ OECD (OECD Committee) อย่างใกล้ชิด ในการปรับปรุงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย (legislation) นโยบาย (policies) และแนวปฏิบัติ […]

ที่มาและความสำคัญ

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนิน โครงการ Country Programme ระยะที่ 1 ที่สิ้นสุดลงในปี 2564 และได้มอบหมายให้สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทำโครงการภายใต้ Country Programme ระยะที่ 2 ต่อมา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับ OECD และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู่ข้อสรุปในการสร้างความร่วมมือใน 20 โครงการ ภายใต้ 4 สาขาความร่วมมือ

GOAL

การยกระดับมาตรฐานภายในประเทศให้ทัดเทียมสากลซึ่งจะช่วยส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดียิ่งขึ้นในทุกมิติ

when

ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี พ.ศ. 2566 – 2568

why

เพื่อให้หน่วยงานของไทยได้เรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ OECD รวมถึงการรับเอาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจาก OECD มาปรับใช้ในการพัฒนานโยบายและมาตรฐานของไทยให้ดียิ่งขึ้น

where

ประเทศไทยและสำนักงานใหญ่ OECD หรือสถานที่อื่นๆ ในการดำเนินโครงการตามความเหมาะสม

how

รูปแบบการดำเนินโครงการ อาทิ การจัดทำรายงานทบทวนนโยบาย การแบ่งปันข้อมูลทางสถิติ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การส่งเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงาน (secondment) และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของไทยใน OECD เพื่อสนับสนุนให้ไทยเข้าผูกพันในตราสารทางกฎหมายของ OECD

สาระสำคัญของโครงการภายใต้ Country programme ระยะที่ 2

การดำเนินโครงการ Country Programme (CP) ระยะที่ 2 เป็นความร่วมมือในระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2566- 2568) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้ไทยเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ซึ่งจะช่วยพัฒนาและยกระดับแนวทางการพัฒนาและมาตรฐานภายในประเทศของไทยให้ทัดเทียมสากล สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) และรวมทั้งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs)

ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ Country Programme ระยะที่ 2
ประกอบด้วย 20 โครงการ ใน 4 สาขาความร่วมมือ ดังนี้

1. หลักธรรมาภิบาล
2. สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและขีดความสามารถในการแข่งขัน
3. ความครอบคลุมทางสังคมและการพัฒนาทุนมนุษย์
4. การฟื้นฟูสีเขียว
การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ Country Programme ระยะที่ 2