ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์

2 มกราคม 2568

รายงานเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2024 หัวข้อ การปฏิรูปโครงสร้างและการเข้าถึงบริการทางการเงิน

รายงานเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. ๒๐๒๔ (APEC Economic Policy Report: AEPR 2024) หัวข้อ การปฏิรูปโครงสร้างและการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Structural Reform and Financial Inclusion) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้างที่สนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงิน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ยืดหยุ่น และครอบคลุม โดยนำเสนอประเด็นด้านอุปสงค์และด้านอุปทานในการเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยมุ่งดำเนินการผ่านการปฏิรูปโครงสร้างเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้บริการทางการเงินได้อย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ การขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการที่มีการวางแผนและพิจารณาอย่างรอบคอบ แม้ว่าปัจจุบันเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปคจะมีความก้าวหน้าในการเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน อาทิ ร้อยละ 84 ของประชากรในภูมิภาคที่มีบัญชีการเงินหรือบัญชีเงินมือถือ แต่ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อให้บริการทางการเงินสามารถเข้าถึงทุกกลุ่มประชากรได้อย่างทั่วถึง โดยมีแนวทางที่สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมการแข่งขันและนวัตกรรมในภาคการเงิน การพัฒนาความรู้ทางการเงินให้กับประชาชน และการสร้างแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการรองรับการใช้งานอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ การปฏิรูปโครงสร้างสามารถมีบทบาทสำคัญในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินที่มีคุณภาพและเป็นธรรมสำหรับทุกคน โดยรายงานดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) การเข้าถึงบริการทางการเงินมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยช่วยให้คนและธุรกิจเข้าร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การกระจายบริการทางการเงินให้เข้าถึงกลุ่มรายได้น้อยและลดความเหลื่อมล้ำเป็นกุญแจสำคัญ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการเงินดิจิทัลเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและประชากรชายขอบ (2) การเข้าถึงบริการทางการเงินเพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับกลุ่มที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ได้ใช้ (untapped economic potential) โดยการเข้าถึงบริการทางการเงินช่วยเสริมศักยภาพกลุ่มที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจแฝง โดยช่วยให้กลุ่มเหล่านี้สามารถบริหารจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการเก็บออมและเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสินเชื่อที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ […]

26 ธันวาคม 2567

การประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาศูนย์ประสานความร่วมมืออนุภูมิภาค IMT – GT ครั้งที่ 25

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 นายธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สศช. ในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโสของไทย เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาศูนย์ประสานความร่วมมืออนุภูมิภาค IMT – GT ครั้งที่ 25 (25th CIMT Advisory Committee Meeting 2024) ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมี ดาโต๊ะ ดร. ซูนิก้า บินดี มะหะหมัด รองเลขาธิการฝ่ายนโยบาย กระทรวงเศรษฐกิจ เจ้าหน้าที่อาวุโสของมาเลเซีย เป็นประธานการประชุมฯ และนายบ๊อบบี้ คริส เซียเจียน ผู้ช่วยรัฐมนตรีช่วยฝ่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค กระทรวงประสานงานด้านเศรษฐกิจ เจ้าหน้าที่อาวุโสของอินโดนีเซีย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำแนะนำต่อแนวทางการดำเนินงานและการบริหารจัดการองค์กรของศูนย์ประสานความร่วมมืออนุภูมิภาค IMT – GT (ศูนย์ CIMT) ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบรายงานการดำเนินงานและการใช้งบประมาณของศูนย์ CIMT ในปี 2567 รวมทั้งหารือถึงแผนงานและการใช้งบประมาณปี 2568 โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาคให้สอดคล้องกับทิศทางและประเด็นสำคัญระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยคำนึงถึงเป้าหมายการพัฒนาในอนุภูมิภาค IMT-GT เพื่อเป็นอนุภูมิภาคแห่งการบูรณาการ […]

20 ธันวาคม 2567

สภาพัฒน์หารือหน่วยงานรัฐ วางแผนการขับเคลื่อนกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ปี 2568

          เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2567 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดการประชุมหารือเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย เพื่อทำความเข้าใจกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการตามกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยเฉพาะในช่วงปี 2568ที่ไทยจะต้องเริ่มจัดทำ Initial Memorandum (IM) ซึ่งเป็นเอกสารการประเมินตนเองในเบื้องต้นและเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก โดยมี นายธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นประธานการประชุม และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 130 คน เข้าร่วม           ในโอกาสนี้ ประธานฯ ได้แจ้งภาพรวมความก้าวหน้าการดำเนินการของไทย โดยเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 นายกรัฐมนตรีได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมี สศช. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เป็นฝ่ายเลขานุการ สำหรับการดำเนินการร่วมกับ OECD นั้น ปัจจุบันไทยมีสถานะเป็นประเทศผู้สมัครที่อยู่ในกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก (accession candidate country) ซึ่งสามารถเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการ OECD […]

20 ธันวาคม 2567

นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 8 แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 8 แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ณ นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีนายหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธานการประชุมฯ พร้อมด้วยผู้นำประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอีก 4 ประเทศ ประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ร่วมกับประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะรัฐมนตรีประจำแผนงาน GMS และนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโสของฝ่ายไทย เข้าร่วมการประชุมฯ ในการประชุมดังกล่าว ผู้นำทั้ง 6 ประเทศ ได้หารือภายใต้หัวข้อหลัก “มุ่งสู่การเป็นประชาคมที่ดีกว่าเดิมด้วยการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Towards a Better Community Through […]

19 ธันวาคม 2567

สศช. กล่าวบรรยายพิเศษรายงานการดำเนินการของประเทศไทยเพื่อเข้าสู่กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ในการประชุมคณะอนุกรรมการกฎระเบียบการค้าและพหุภาคี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ดร.ภก.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการกฎระเบียบการค้าและพหุภาคี ครั้งที่ 3/2567 โดยผู้แทนสานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้รับเชิญให้กล่าวบรรยายพิเศษภายใต้หัวข้อ “การดาเนินการของประเทศไทยเพื่อเข้าสู่กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD และแนวทางการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย” แก่อนุกรรมการกฎระเบียบการค้าและพหุภาคี ผู้แทนภาคอุตสาหกรรม และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประชุม ดร.ภก.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทยที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอีกครั้งของนายโดนัลด์ ทรัมป์ การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป รวมถึงการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย ซึ่งจะนาไปสู่ความท้าทายและโอกาสใหม่ ๆ ของภาคธุรกิจไทย ดังนั้น ไทยจึงต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าเพื่อตอบรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการประสานงานกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ นางสาลินี ผลประไพ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เน้นย้าว่าการเข้าเป็นสมาชิก OECD ไม่ใช่การมุ่งเน้นเพื่อเข้าเป็นสมาชิกได้อย่างรวดเร็ว แต่เป็นการการปรับปรุงมาตรฐานและผลักดันการปฏิรูปภายในประเทศให้เกิดประโยชน์รอบด้าน โดยทางกระทรวงการต่างประเทศมองว่ากระบวนการเข้าเป็นสมาชิกนี้จะเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวของไทย ผ่านการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การยกระดับมาตรฐานภาครัฐและภาคธุรกิจ […]

13 ธันวาคม 2567

กระทรวงศึกษาธิการจัดการประชุมคณะทางานขับเคลื่อนการดาเนินงานด้านการศึกษาและพัฒนาทักษะเพื่อสนับสนุนกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567 นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมคณะทางานขับเคลื่อนการดาเนินงานด้านการศึกษาและพัฒนาทักษะเพื่อสนับสนุนกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย โดยมีผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยเฉพาะการดาเนินงานด้านการศึกษาที่ ศธ. มีความร่วมมือกับ OECD มาอย่างต่อเนื่อง นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงความสาคัญของการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการศึกษาไทย ทั้งระบบการศึกษา ทักษะการเรียนของนักเรียน และทักษะการสอนของครู ซึ่งที่ผ่านมา ประเทศไทยได้นามาตรฐานของ OECD มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน เช่น โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) ที่เน้นการประเมินนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริง เพื่อนาไปใช้ในการปรับปรุงนโยบายและหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะสม นอกจากนี้ รองปลัดฯ ยังเน้นย้าว่าการเข้าเป็นสมาชิก OECD จะนามาซึ่งองค์ความรู้เพื่อพัฒนาแผนการศึกษาไทย โดย ศธ. พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนความร่วมมือกับ OECD และจาเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง […]

22 พฤศจิกายน 2567

สศช. เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการ OECD เดินหน้าขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่อง 

เมื่อวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2567 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการ External Relations Committee (ERC) คณะกรรมการ Economic Policy Committee (EPC) และหารือกับ Directorate for Legal Affairs เกี่ยวกับกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยมีนายศรัณย์ เจริญสุวรรณ เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะเจ้าหน้าที่เข้าร่วม ณ สำนักงานใหญ่ OECD กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส การประชุมคณะกรรมการ ERC เลขาธิการ สศช. ได้กล่าวรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ OECD-Thailand Country Programme (CP) ระยะที่ 2 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ไทยเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยโครงการย่อย 20 โครงการ ภายใต้ 4 สาขาความร่วมมือ โดยมี สศช. […]

14 พฤศจิกายน 2567

สภาพัฒน์ลงนามบันทึกความเข้าใจกับคณะการกรรมของประธานาธิบดี แห่งสาธารณรัฐเกาหลีมุ่งขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. และนายวู ดง กี่ (Woo Tong Ki) ประธานคณะกรรมการของประธานาธิบดีเพื่อการกระจายอำนาจและการพัฒนาอย่างสมดุล (Presidential Committee for Decentralization and Balanced Development of the Republic of Korea: PCDBD) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแห่งราชอาณาจักรไทยและคณะกรรมการของประธานาธิบดีเพื่อการกระจายอำนาจและการพัฒนาอย่างสมดุลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ว่าด้วยการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้จะเป็นกรอบความร่วมมือทางวิชาการในประเด็นที่สนใจร่วมกันและการแบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการพัฒนาระดับภูมิภาคที่ยั่งยืนและครอบคลุม อีกทั้งยังมุ่งส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผ่านความร่วมมือใน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย (1) การลดความเหลื่อมล้ำในระดับภูมิภาคด้วยแนวทางที่ยั่งยืน (2) การวางแผนการพัฒนาเมือง และ (3) การเชื่อมโยงระหว่างเมืองและชนบท ในระยะต่อไป ทั้งสองฝ่ายมุ่งดำเนินกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกัน อาทิ การประชุมเชิงปฏิบัติการการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ด้านการจัดทำนโยบาย การแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่เพื่อการปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว (secondment) การมีความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ […]

30 ตุลาคม 2567

OECD เปิดตัวแผนการเข้าเป็นสมาชิกของไทยอย่างเป็นทางการ: รัฐ-เอกชนขานรับ พร้อมมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นประเทศที่มีการพัฒนาระดับสากล

          เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 รัฐบาลไทยได้จัดกิจกรรมการเปิดตัวกระบวนการหารือเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ตลอดจนเอกอัครราชทูตจากประเทศสมาชิก OECD เข้าร่วม            กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความก้าวหน้าของไทยในกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD แก่สาธารณชนในวงกว้าง ผ่านการเยือนประเทศไทยของนายมาทีอัส คอร์มันน์ เลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และคณะ ซึ่งในโอกาสนี้ OECD ได้มีการเผยสถานะของไทยในฐานะ Accession Candidate Country และมอบแผนการเข้าเป็นสมาชิกของไทย (Acession Roadmap) ฉบับทางการแก่ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นับเป็นก้าวสำคัญของไทยในกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD           ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ OECD ที่มีความใกล้ชิดอย่างยาวนาน พร้อมแสดงความมุ่งมั่นที่จะยกระดับความร่วมมือกับ OECD และประเทศสมาชิก ตลอดจนสนับสนุนกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในขณะที่ เลขาธิการ OECD ได้กล่าวชื่นชมความมุ่งมั่นของไทยและเน้นย้ำประโยชน์ของกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกที่จะช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศรายได้สูงและมีความเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวหน้าได้ […]