OECD

สศช. กล่าวบรรยายพิเศษรายงานการดำเนินการของประเทศไทยเพื่อเข้าสู่กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ในการประชุมคณะอนุกรรมการกฎระเบียบการค้าและพหุภาคี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ดร.ภก.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการกฎระเบียบการค้าและพหุภาคี ครั้งที่ 3/2567 โดยผู้แทนสานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้รับเชิญให้กล่าวบรรยายพิเศษภายใต้หัวข้อ “การดาเนินการของประเทศไทยเพื่อเข้าสู่กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD และแนวทางการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย” แก่อนุกรรมการกฎระเบียบการค้าและพหุภาคี ผู้แทนภาคอุตสาหกรรม และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประชุม

ดร.ภก.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทยที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอีกครั้งของนายโดนัลด์ ทรัมป์ การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป รวมถึงการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย ซึ่งจะนาไปสู่ความท้าทายและโอกาสใหม่ ๆ ของภาคธุรกิจไทย ดังนั้น ไทยจึงต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าเพื่อตอบรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการประสานงานกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นางสาลินี ผลประไพ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เน้นย้าว่าการเข้าเป็นสมาชิก OECD ไม่ใช่การมุ่งเน้นเพื่อเข้าเป็นสมาชิกได้อย่างรวดเร็ว แต่เป็นการการปรับปรุงมาตรฐานและผลักดันการปฏิรูปภายในประเทศให้เกิดประโยชน์รอบด้าน โดยทางกระทรวงการต่างประเทศมองว่ากระบวนการเข้าเป็นสมาชิกนี้จะเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวของไทย ผ่านการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การยกระดับมาตรฐานภาครัฐและภาคธุรกิจ การส่งเสริมบทบาทของไทยในการกาหนดทิศทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ตลอดจนการสร้างความน่าเชื่อถือของไทยต่อประเทศคู่ค้า นอกจากนี้ ยังได้มีการเน้นย้าถึงตราสารทางกฎหมายของ OECD ที่มีความเกี่ยวข้องต่อภาคธุรกิจไทย อาทิ ตราสารที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีตลาด การต่อต้านการทุจริต การเก็บภาษีระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีและสภาพภูมิอากาศ ที่จาเป็นต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง

นายธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงความคาดหวังในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาครัฐ ภาดเอกชน และภาคประชาชน โดยในปัจจุบัน ไทยอยู่ในขั้นตอนของการจัดทาข้อตกลงเบื้องต้น (Initial Memorandum: IM) โดยจะเป็นการประเมินตนเองเบื้องต้นว่าไทยมีกฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติภายในประเทศสอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD มากน้อยเพียงใด จากนั้น OECD จะดาเนินการประเมินทางเทคนิคเชิงลึกกับไทย (technical review) ซึ่งทาง OECD จะให้ข้อเสนอแนะว่าไทยควรจะมีการปรับปรุงในเรื่องใด โดยในขั้นตอนนี้ ภาคเอกชนสามารถมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นต่อภาครัฐในการปรับมาตรฐานต่าง ๆ โดยเฉพาะการผลักดันไปสู่การปรับแก้กฎหมาย ซึ่งจาเป็นต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนต่าง ๆ นอกจากนี้ ภาคเอกชนไทยยังสามารถดาเนินงานร่วมกับ OECD ผ่าน Business at OECD (BIAC) ซึ่งปัจจุบัน คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ (Observer) โดย BIAC เป็นตัวแทนเครือข่ายธุรกิจจากประเทศสมาชิก OECD ที่ดาเนินงานร่วมกับ OECD ในการให้ความเห็นในการออกแบบนโยบายและแนวปฏิบัติในมุมมองของภาคธุรกิจ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ภาคเอกชนไทยสามารถมีส่วนร่วมในการดาเนินงานร่วมกับ OECD ได้

ในการนี้ สศช. และ กต. ได้ร่วมตอบคาถามในประเด็นต่าง ๆ จากภาคเอกชน เช่น กรอบเวลาในการปรับมาตรฐาน การมีส่วนร่วมของไทยในฐานะประเทศผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก OECD และผลกระทบของการเข้าเป็นสมาชิก OECD ทั้งนี้ ภาครัฐจะมีการดาเนินงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างไกล้ชิดในกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย

สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ Business at OECD ได้ที่ https://www.businessatoecd.org/
สามารถติดตามความก้าวหน้าการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย ได้ที่ bit.ly/43SdmE0

bit.ly/43SdmE0
TH2OECD