14 พฤศจิกายน 2567

สภาพัฒน์ลงนามบันทึกความเข้าใจกับคณะการกรรมของประธานาธิบดี แห่งสาธารณรัฐเกาหลีมุ่งขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. และนายวู ดง กี่ (Woo Tong Ki) ประธานคณะกรรมการของประธานาธิบดีเพื่อการกระจายอำนาจและการพัฒนาอย่างสมดุล (Presidential Committee for Decentralization and Balanced Development of the Republic of Korea: PCDBD) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแห่งราชอาณาจักรไทยและคณะกรรมการของประธานาธิบดีเพื่อการกระจายอำนาจและการพัฒนาอย่างสมดุลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ว่าด้วยการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้จะเป็นกรอบความร่วมมือทางวิชาการในประเด็นที่สนใจร่วมกันและการแบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการพัฒนาระดับภูมิภาคที่ยั่งยืนและครอบคลุม อีกทั้งยังมุ่งส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผ่านความร่วมมือใน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย (1) การลดความเหลื่อมล้ำในระดับภูมิภาคด้วยแนวทางที่ยั่งยืน (2) การวางแผนการพัฒนาเมือง และ (3) การเชื่อมโยงระหว่างเมืองและชนบท ในระยะต่อไป ทั้งสองฝ่ายมุ่งดำเนินกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกัน อาทิ การประชุมเชิงปฏิบัติการการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ด้านการจัดทำนโยบาย การแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่เพื่อการปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว (secondment) การมีความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ […]

14 สิงหาคม 2567

เลขาธิการ สศช. หารือประเด็นความร่วมมือกับ เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. ได้ให้การต้อนรับ Mr. Remco Johannes van Wijngaarden เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย และหารือร่วมกันในประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมถึงความคืบหน้าในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี ค.ศ. 2030 ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหลายประเด็น อาทิ การพัฒนาเศรษฐกิจมหภาค การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อุตสาหกรรมยานยนต์และยานยนต์ไฟฟ้า และการส่งเสริมการค้าการลงทุน ตลอดจนการส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืน และการรับมือกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในหลายมิติ เลขาธิการ สศช. ยังได้กล่าวถึงแผนการเข้าเป็นสมาชิก OECD (Roadmap for the OECD Accession Process of Thailand) ของไทย ซึ่งคณะมนตรี OECD ได้ให้ความเห็นชอบไปแล้วเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 โดยประเทศไทยอยู่ระหว่างการดำเนินการให้เป็นไปตาม Accession Roadmap […]

26 มิถุนายน 2567

รองประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย เข้าพบเลขาธิการ สศช.  เพื่อหารือในประเด็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) กับประเทศไทย

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. ได้ให้การต้อนรับ Mr. Scott Morris รองประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย  ฝ่ายเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก พร้อมคณะ เพื่อหารือในประเด็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) กับประเทศไทย ในโอกาสดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกันในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคมเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะประเด็นมลพิษทางอากาศและปัญหาภาวะความเครียดเนื่องจากความร้อน (Heat Stress) ซึ่งเป็นประเด็นที่ ADB ให้ความสำคัญในปัจจุบัน โดย ADB พร้อมให้ความร่วมมือทั้งทางด้านวิชาการแก่ประเทศไทยภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สศช. และ ADB โครงการ Thailand Green Incubator ในการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งการจัดทำมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาแนวคิดในการใช้ประโยชน์จากของเสียภาคเกษตรมาผลิตพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดปริมาณของเสียและมลพิษที่จะเกิดขึ้นจากการจัดการของเสีย ในการนี้ เลขาธิการฯ เน้นย้ำถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศข้ามพรมแดน โดยเห็นว่าควรใช้ประโยชน์จากกลไกเชิงสถาบันภายใต้กรอบความร่วมมือแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program: GMS) ที่ […]

29 มกราคม 2567

รองเลขาธิการ สศช. ให้การต้อนรับผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และ USTDA

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 นายวิโรจน์ นรารักษ์ รองเลขาธิการ สศช. ให้การต้อนรับผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และผู้แทน U.S. Trade and Development Agency (USTDA) เพื่อร่วมการหารือแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระหว่างกัน ในโอกาสนี้ ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ เน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสหรัฐฯ และแสดงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าไทย-สหรัฐฯ และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย รวมถึงชื่นชมความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของไทย นอกจากนี้ ผู้แทน USTDA แสดงความพร้อมในการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทย และนำเสนอบทบาทของ USTDA ในการให้ความช่วยเหลือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้แก่หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจของไทย ในการนี้ รองเลขาธิการฯ และเจ้าหน้าที่ สศช. ได้บรรยายสรุปสภาวะเศรษฐกิจไทย เป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และทิศทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและนวัตกรรมของไทย ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายรับทราบถึงความมุ่งมั่นและประเด็นที่ไทยและสหรัฐฯ ให้ความสำคัญ และแสดงความพร้อมและเปิดกว้างสำหรับโอกาสในการขับเคลื่อนความร่วมมือของ สศช. และ USTDA ในระยะต่อไป ข่าว : กองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ภาพ : จักรพงศ์ สวภาพมงคล

24 มกราคม 2567

ผู้อำนวยการสำนักเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธนาคารพัฒนาเอเชีย เข้าพบเลขาธิการ สศช.  เพื่อหารือในประเด็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับประเทศไทย

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้การต้อนรับ Mr. Winfried F. Wicklein ผู้อำนวยการสำนักเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ในระหว่างภารกิจเยือนประเทศไทยเพื่อกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่าง ADB และหน่วยงานไทย ในโอกาสนี้ ผู้อำนวยการฯ ธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้หารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นด้านการพัฒนาอย่างรอบด้านของประเทศไทย โดยเฉพาะประเด็นที่ ADB พร้อมให้การสนับสนุนทั้งในด้านวิชาการและการเงิน อาทิ สาธารณสุข การจัดการขยะ และมลภาวะทางน้ำ พร้อมทั้งนำเสนอถึงความสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการเงินสีเขียวเพื่อช่วยปรับปรุงความสามารถทางการเงินและการจัดหาเงินทุนของโครงการสีเขียวต่าง ๆ ทั้งนี้ ADB ได้จัดทำการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไทยอาจนำมาปรับใช้ประโยชน์ได้ อาทิ การศึกษา Renewable Energy Manufacturing: Opportunities for Southeast Asia ซึ่งมุ่งเน้นการวิเคราะห์แนวทางการลงทุนของภาคเอกชน การบูรณาการความร่วมมือระดับภูมิภาค และการออกนโยบายที่ส่งเสริมอุปสงค์ด้านการขนส่งและพลังงานคาร์บอนต่ำ และการศึกษา Unlocking Innovation for Development ซึ่งมุ่งหวังการเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศสมาชิกในการแก้ปัญหาการพัฒนาผ่านนวัตกรรม ในการนี้ เลขาธิการ สศช. ได้เน้นย้ำถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยที่รัฐบาลให้ความสำคัญ อาทิ การเกษตร อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ […]