7 มีนาคม 2568

การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2568 ณ เมืองคยองจู สาธารณรัฐเกาหลี

เมื่อวันที่ 3 – 4 มีนาคม 2568 สาธารณรัฐเกาหลี ในฐานะเจ้าภาพเอเปคปี 2568 ได้จัดการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 1/2568 ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1 (First Senior Officials’ Meeting: SOM1) ณ เมืองคยองจู สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีนายดนุชา พิชยนันท์เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจฯ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แนวคิดหลักของการประชุมเอเปคปี 2568 คือ “เสริมสร้างวันพรุ่งนี้ที่ยั่งยืน” (Building a Sustainable Tomorrow) ซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความเชื่อมโยง (Connect) การสร้างสรรค์ (Innovate) และความรุ่งเรือง (Prosper) โดยได้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของ EC ในการสนับสนุนประเด็นดังกล่าวผ่านการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจในระบบและเศรษฐกิจยั่งยืนและเชื่อมโยงกันทั่วทั้งภูมิภาค ในการนี้ เลขาธิการฯ ได้เน้นย้ำต่อที่ประชุมถึงการดำเนินงานของไทยในการสนับสนุนการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจที่ครอบคลุมและยั่งยืน พร้อมทั้งสามารถตอบสนองต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นในระดับภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการปรับใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทยในการดึงดูดการลงทุนในนวัตกรรม เทคโนโลยี […]

2 มกราคม 2568

รายงานเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2024 หัวข้อ การปฏิรูปโครงสร้างและการเข้าถึงบริการทางการเงิน

รายงานเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. ๒๐๒๔ (APEC Economic Policy Report: AEPR 2024) หัวข้อ การปฏิรูปโครงสร้างและการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Structural Reform and Financial Inclusion) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้างที่สนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงิน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ยืดหยุ่น และครอบคลุม โดยนำเสนอประเด็นด้านอุปสงค์และด้านอุปทานในการเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยมุ่งดำเนินการผ่านการปฏิรูปโครงสร้างเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้บริการทางการเงินได้อย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ การขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการที่มีการวางแผนและพิจารณาอย่างรอบคอบ แม้ว่าปัจจุบันเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปคจะมีความก้าวหน้าในการเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน อาทิ ร้อยละ 84 ของประชากรในภูมิภาคที่มีบัญชีการเงินหรือบัญชีเงินมือถือ แต่ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อให้บริการทางการเงินสามารถเข้าถึงทุกกลุ่มประชากรได้อย่างทั่วถึง โดยมีแนวทางที่สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมการแข่งขันและนวัตกรรมในภาคการเงิน การพัฒนาความรู้ทางการเงินให้กับประชาชน และการสร้างแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการรองรับการใช้งานอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ การปฏิรูปโครงสร้างสามารถมีบทบาทสำคัญในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินที่มีคุณภาพและเป็นธรรมสำหรับทุกคน โดยรายงานดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) การเข้าถึงบริการทางการเงินมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยช่วยให้คนและธุรกิจเข้าร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การกระจายบริการทางการเงินให้เข้าถึงกลุ่มรายได้น้อยและลดความเหลื่อมล้ำเป็นกุญแจสำคัญ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการเงินดิจิทัลเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและประชากรชายขอบ (2) การเข้าถึงบริการทางการเงินเพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับกลุ่มที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ได้ใช้ (untapped economic potential) โดยการเข้าถึงบริการทางการเงินช่วยเสริมศักยภาพกลุ่มที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจแฝง โดยช่วยให้กลุ่มเหล่านี้สามารถบริหารจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการเก็บออมและเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสินเชื่อที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ […]

18 กันยายน 2567

การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 2/2567 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู

เมื่อวันที่ 21 – 22 สิงหาคม 2567 สาธารณรัฐเปรู ในฐานะเจ้าภาพประชุมเอเปค ปี 2567 ได้จัดการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 2/2567 ซึ่งอยู่ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3 (Third Senior Officials’ Meeting: SOM3) ระหว่างวันที่ 12 – 25 สิงหาคม 2567 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู โดยมีนายธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สศช. เป็นผู้แทนฝ่ายไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจฯ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยมีสรุปสาระสำคัญการประชุม ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2567 ที่ประชุม EC ได้หารือเกี่ยวกับรายงานเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Policy Report: AEPR 2024) ในหัวข้อ […]

5 มีนาคม 2567

การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2567 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู

เมื่อวันที่ 4-5 มีนาคม 2567 สาธารณรัฐเปรู ในฐานะเจ้าภาพประชุมเอเปค ปี 2567 ได้จัดการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 1/2567 ซึ่งอยู่ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1 (Third Senior Officials’ Meeting: SOM1) ระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2567 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู โดยมีนายธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สศช. เป็นผู้แทนฝ่ายไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจฯ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยมีสรุปสาระสำคัญการประชุม ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2567 ที่ประชุม EC ได้หารือถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ซึ่งยังต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ อาทิ เสถียรภาพทางการเงินจากหนี้ที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเติบโตของผลผลิตที่ชะลอตัว และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งร่วมกันหาแนวทางเพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าวผ่านการดำเนินงานของกลไกต่าง […]

15 สิงหาคม 2566

การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 2/2566

เมื่อวันที่ 14-15 สิงหาคม 2566 สหรัฐอเมริกา ในฐานะเจ้าภาพประชุมเอเปค ปี 2566 ได้จัดการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 2/2566 ซึ่งอยู่ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3 (Third Senior Officials’ Meeting: SOM3) ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 21 สิงหาคม 2566 ณ นครซีแอตเทิล มลรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยมีนายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการ สศช. เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจฯ ดังกล่าว และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมได้มีการหารือกันในประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจ (EC) ครั้งที่ 2/2566 การประชุม EC จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือถึงความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและขับเคลื่อนวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค (Enhanced APEC Agenda for Structural Reform: EAASR) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปค […]

23 กุมภาพันธ์ 2566

การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 1/2566

นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สศช. เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 1/2566 ร่วมกับอีก 20 เขตเศรษฐกิจเอเปค ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2566 ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1 ณ เมืองปาล์มสปริงส์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2566 ที่ประชุม EC ได้หารือถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาชิกเอเปคในการรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนกลไกของ EC อาทิ การยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค (Enhanced APEC Agenda for Structural Reform: EAASR) และกลุ่มเพื่อนประธาน (Friend of the Chair :FotC) ตลอดจนหารือถึงทิศทางการดำเนินงานในปีนี้ผ่านการนำเสนอแผนการดำเนินงาน (work plan) […]

26 สิงหาคม 2565

การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Committee) ครั้งที่ 1/2565 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมในคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการหลักของเอเปค ในช่วงที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3 และการประชุมที่เกี่ยวข้องซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีสาระการประชุมที่สำคัญ ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 2 (EC2) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2565 ได้มีการหารือเกี่ยวกับการขับเคลื่อนประเด็นด้านการปฏิรูปโครงสร้างภายใต้การยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค (Enhanced APEC Agenda on Structural Reform: EAASR) และหารือแนวทางในการจัดทำรายงานระยะครึ่งแผน (EAASR mid-term review) ตลอดจนหารือประเด็นที่ภูมิภาคให้ความสนใจ ทั้งเรื่องการฟื้นตัวที่ยั่งยืนและมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจทัลในการส่งเสริมธรรมาภิบาลภาครัฐ แนวทางในการดำเนินงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ นโยบายการแข่งขันทางการค้า แนวปฏิบัติด้านบรรษัทภิบาลที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพเอเปค ดร.วันฉัตรฯ ได้เสนอหัวข้อการจัดทำรายงานเศรษฐกิจเอเปคประจำปี ๒๕๖๖ (2023 APEC Economic Policy Report) […]

14 ธันวาคม 2563

ผลการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2563 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2563 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 13 – 17 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ประเทศมาเลเซีย  ได้แก่ 1. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนานโยบายกำกับเศรษฐกิจแบ่งปันอย่างมีนวัตกรรม (Workshop on Innovative Regulatory Policy Development :APEC Economies’ Approaches on Sharing Economy) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนานโยบายกำกับเศรษฐกิจแบ่งปันของเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคให้สอดรับกับการดำเนินธุรกิจแบบดิจิทัลที่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น อาทิ การกำหนดมาตรฐาน การออกกฎหมาย/กฎระเบียบ การจัดเก็บภาษี และการคุ้มครองผู้บริโภคให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 2. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการหาข้อสรุปสำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติการเอเปค เรื่อง ความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจ ระยะที่ 3 (Workshop to Finalize the Third APEC Ease of Doing Business (EoDB) Action Plan) เพื่อหาข้อสรุปในการจัดทำแผนปฏิบัติการเอเปคฯ […]