แผนการดำเนินงานในปัจจุบัน
กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. 2573
(The Greater Mekong Subregion (GMS) Economic Cooperation Program Strategic Framework 2030: GMS-2030)
แผนยุทธศาสตร์ที่มุ่งสู่การเป็นอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่มีการบูรณาการ รุ่งเรือง ยั่งยืน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และได้กำหนดพันธกิจใหม่เพื่อเป็นความร่วมมือในอนุภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับจุดแข็งในมิติประชาคม ความเชื่อมโยง และความสามารถในการแข่งขัน โดยไม่ละทิ้งหลักการของความยืดหยุ่นและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม การบูรณาการทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค ตลอดจนความครอบคลุมเพื่อสร้างประชาคม GMS ที่มีอนาคตร่วมกัน ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากผู้นำแผนงาน GMS ทั้ง 6 ประเทศในการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงาน GMS ครั้งที่ 7 เมื่อปี 2564
โหลดเอกสาร 1.เอกสารฉบับเต็ม (ภาษาอังกฤษ) 2.สรุปสาระสำคัญ (ภาษาไทย)
กรอบการลงทุนของภูมิภาค พ.ศ. 2569 (Regional Investment Framework: RIF 2026)
กรอบการลงทุนร่วมกันของประเทศสมาชิกแผนงาน GMS ใน 6 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วย โครงการต่าง ๆ ทั้งที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) รัฐบาลของแต่ละประเทศ หุ้นส่วนการพัฒนาอื่น ๆ ทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี ตลอดจนโครงการที่ได้รับการพัฒนาจากภาคเอกชน โดยมีระยะเวลาดำเนินการในช่วง 3 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2567 – 2569 ประกอบด้วยโครงการ 128 โครงการ และมีมูลค่าการลงทุนรวม 1.77 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม (ภาษาอังกฤษ)
กรอบการประเมินผลลัพธ์สำหรับกรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS พ.ศ. 2573 (GMS 2030 Results Framework)
กรอบการประเมินผลลัพธ์สำหรับกรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS พ.ศ. 2573 คือเครื่องมือสำคัญในการติดตาม ผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินงานของภาคส่วนต่าง ๆ ให้บรรลุสู่เป้าหมายที่วางไว้ในยุทธศาสตร์แผนงาน GMS-2030
ดาวน์โหลดเอกสาร 1.เอกสารฉบับเต็ม (ภาษาอังกฤษ) 2. สรุปสาระสำคัญ (ภาษาไทย)
ยุทธศาสตร์ความเท่าเทียมทางเพศ GMS (GMS Gender Strategy)
เป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นย้ำส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศผ่านการสร้างโอกาสให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในโครงการรายสาขาความร่วมมือต่่าง ๆ ให้มากขึ้นรวมถึงเป็นการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 5 ความเสมอภาคระหว่างเพศและเสริมพลังแก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน
ดาวน์โหลดเอกสาร 1.เอกสารฉบับเต็ม (ภาษาอังกฤษ) 2.สรุปสาระสำคัญ (ภาษาไทย)
ข้อริเริ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจดิจิทัล GMS (GMS Digital Economy Cooperation Initiative)
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้า เร่งการเชื่อมต่อด้านดิจิทัล ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล เร่งการพัฒนาระบบการเงินดิจิทัล ปรับปรุงความครอบคลุมทางดิจิทัล และพัฒนาการกำกับดูแลด้านดิจิทัลขั้นสูง และได้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลใน GMS อย่างครอบคลุม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด และส่งเสริมการนำใช้ด้านดิจิทัลเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุม