The OECD Thailand Country 
Programme Phase II

ข่าวความเคลื่อนไหวที่สําคัญ

24 มีนาคม 2568

การประชุมหารือระหว่าง เลขาธิการ สศช. และเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรฯ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกัน และขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2568 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. ให้การต้อนรับนายมาร์ค กู้ดดิ้ง (H.E. Mr. Mark Gooding OBE) เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สศช. พร้อมด้วยคณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร เข้าร่วมการหารือ ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนมุมมองสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน เศรษฐกิจระหว่างประเทศ การปฏิรูปโครงสร้าง และการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว โดยเลขาธิการ สศช. ได้บรรยายสรุปภาพรวมเศรษฐกิจไทยและทิศทางการพัฒนาที่สำคัญของไทย อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ และอุตสาหกรรมยา ตลอดจนการเร่งพัฒนาทักษะแรงงานไทยเพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต นอกจากนี้ เลขาธิการ สศช. ยังเน้นย้ำถึงความพร้อมของไทยในการสนับสนุน Long-Term Resident Visa ให้แก่ผู้เชี่ยวชาญจากสหราชอาณาจักรเพื่อมาสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของไทย การส่งเสริมให้นักลงทุนสหราชอาณาจักรเข้ามาลงทุนในไทย และส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในประเด็นที่สหราชอาณาจักรมีความเชี่ยวชาญ ในการนี้ เอกอัครราชทูตฯ ยินดีที่จะสนับสนุนกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย และแสดงความพร้อมที่จะทำงานกับไทยอย่างใกล้ชิดในทุกมิติ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวและการเงินสีเขียว รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในประเด็นการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งสองฝ่ายยังแสดงความมุ่งมั่นที่จะเสริมขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันและความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรต่อไป 

21 มีนาคม 2568

เลขาธิการ สศช. พบหารือเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ยืนยันความมุ่งมั่นของไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยออสเตรเลียพร้อมให้การสนับสนุน

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. พบหารือกับ ดร. แอนเจลา แมคโดนัลด์ (H.E. Dr. Angela Macdonald PSM) เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย เกี่ยวกับการสนับสนุนไทยในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมีคณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ สศช. เข้าร่วม ในโอกาสนี้ เลขาธิการ สศช. กล่าวถึงความคืบหน้าในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย โดยเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2568 นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568 ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบ (1) การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการฯ จำนวน 3 คณะ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในประเทศ ระหว่างประเทศ และปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ (2) การแต่งตั้งอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นผู้ประสานงานหลักในประเทศ และเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เป็นผู้ประสานงานหลักประจำการ ณ กรุงปารีส และ […]

10 มีนาคม 2568

รัฐบาลตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นสมาชิก OECD ภายในปี 2573 เพื่อยกระดับประเทศสู่ความเป็นสากลมากขึ้น

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2568 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ของประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568 เพื่อกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิก OECD โดยมีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ข้าราชการฝ่ายการเมือง และหน่วยงานประสานหลัก ประกอบด้วย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เข้าร่วมประชุม ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล คณะกรรมการกำกับฯ มีองค์ประกอบจำนวน 12 คน มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และมีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดนโยบาย เสนอแนะแนวทางการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย ตลอดจนสั่งการ และกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และแผนการดำเนินการเพื่อเข้าเป็นสมาชิก OECD (Accession Roadmap) ของประเทศไทย การเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย ประกอบด้วย 2 […]

ที่มาและความสำคัญ

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนิน โครงการ Country Programme ระยะที่ 1 ที่สิ้นสุดลงในปี 2564 และได้มอบหมายให้สานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทำโครงการภายใต้ Country Programme ระยะที่ 2 ต่อมา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับ OECD และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู่ข้อสรุปในการสร้างความร่วมมือใน 20 โครงการ ภายใต้ 4 สาขาความร่วมมือ

GOAL

การยกระดับมาตรฐานภายในประเทศให้ทัดเทียมสากลซึ่งจะช่วยส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดียิ่งขึ้นในทุกมิติ

when

ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี พ.ศ. 2566 – 2569

why

เพื่อให้หน่วยงานของไทยได้เรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ OECD รวมถึงการรับเอาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจาก OECD มาปรับใช้ในการพัฒนานโยบายและมาตรฐานของไทยให้ดียิ่งขึ้น

where

ประเทศไทยและสำนักงานใหญ่ OECD หรือสถานที่อื่นๆ ในการดำเนินโครงการตามความเหมาะสม

how

รูปแบบการดำเนินโครงการ อาทิ การจัดทำรายงานทบทวนนโยบาย การแบ่งปันข้อมูลทางสถิติ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การส่งเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงาน (secondment) และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของไทยใน OECD เพื่อสนับสนุนให้ไทยเข้าผูกพันในตราสารทางกฎหมายของ OECD

สาระสำคัญของโครงการภายใต้ Country programme ระยะที่ 2

การดำเนินโครงการ Country Programme (CP) ระยะที่ 2 เป็นความร่วมมือในระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2566- 2569) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้ไทยเข้าถึงองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของ OECD ซึ่งจะช่วยพัฒนาและยกระดับแนวทางการพัฒนาและมาตรฐานภายในประเทศของไทยให้ทัดเทียมสากล สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) และรวมทั้งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs)

ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ Country Programme ระยะที่ 2
ประกอบด้วย 20 โครงการ ใน 4 สาขาความร่วมมือ ดังนี้

1. หลักธรรมาภิบาล
2. สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและขีดความสามารถในการแข่งขัน
3. ความครอบคลุมทางสังคมและการพัฒนาทุนมนุษย์
4. การฟื้นฟูสีเขียว
การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ Country Programme ระยะที่ 2