UN

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก

United Nations (UN)

ข่าวความเคลื่อนไหวที่สําคัญ

5 มีนาคม 2567

การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2567 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู

เมื่อวันที่ 4-5 มีนาคม 2567 สาธารณรัฐเปรู ในฐานะเจ้าภาพประชุมเอเปค ปี 2567 ได้จัดการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 1/2567 ซึ่งอยู่ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1 (Third Senior Officials’ Meeting: SOM1) ระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2567 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู โดยมีนายธัชไท กีรติพงค์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สศช. เป็นผู้แทนฝ่ายไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจฯ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยมีสรุปสาระสำคัญการประชุม ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2567 ที่ประชุม EC ได้หารือถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ซึ่งยังต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ อาทิ เสถียรภาพทางการเงินจากหนี้ที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเติบโตของผลผลิตที่ชะลอตัว และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งร่วมกันหาแนวทางเพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าวผ่านการดำเนินงานของกลไกต่าง […]

15 สิงหาคม 2566

การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 2/2566

เมื่อวันที่ 14-15 สิงหาคม 2566 สหรัฐอเมริกา ในฐานะเจ้าภาพประชุมเอเปค ปี 2566 ได้จัดการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 2/2566 ซึ่งอยู่ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3 (Third Senior Officials’ Meeting: SOM3) ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 21 สิงหาคม 2566 ณ นครซีแอตเทิล มลรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยมีนายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการ สศช. เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจฯ ดังกล่าว และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมได้มีการหารือกันในประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจ (EC) ครั้งที่ 2/2566 การประชุม EC จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือถึงความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและขับเคลื่อนวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค (Enhanced APEC Agenda for Structural Reform: EAASR) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปค […]

23 กุมภาพันธ์ 2566

การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 1/2566

นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สศช. เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ครั้งที่ 1/2566 ร่วมกับอีก 20 เขตเศรษฐกิจเอเปค ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2566 ในห้วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1 ณ เมืองปาล์มสปริงส์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2566 ที่ประชุม EC ได้หารือถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาชิกเอเปคในการรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนกลไกของ EC อาทิ การยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค (Enhanced APEC Agenda for Structural Reform: EAASR) และกลุ่มเพื่อนประธาน (Friend of the Chair :FotC) ตลอดจนหารือถึงทิศทางการดำเนินงานในปีนี้ผ่านการนำเสนอแผนการดำเนินงาน (work plan) […]

26 สิงหาคม 2565

การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Committee) ครั้งที่ 1/2565 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมในคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค (Economic Committee: EC) ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการหลักของเอเปค ในช่วงที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3 และการประชุมที่เกี่ยวข้องซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมแชงกรี-ลา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีสาระการประชุมที่สำคัญ ดังนี้ 1. การประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 2 (EC2) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2565 ได้มีการหารือเกี่ยวกับการขับเคลื่อนประเด็นด้านการปฏิรูปโครงสร้างภายใต้การยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปค (Enhanced APEC Agenda on Structural Reform: EAASR) และหารือแนวทางในการจัดทำรายงานระยะครึ่งแผน (EAASR mid-term review) ตลอดจนหารือประเด็นที่ภูมิภาคให้ความสนใจ ทั้งเรื่องการฟื้นตัวที่ยั่งยืนและมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจทัลในการส่งเสริมธรรมาภิบาลภาครัฐ แนวทางในการดำเนินงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ นโยบายการแข่งขันทางการค้า แนวปฏิบัติด้านบรรษัทภิบาลที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพเอเปค ดร.วันฉัตรฯ ได้เสนอหัวข้อการจัดทำรายงานเศรษฐกิจเอเปคประจำปี ๒๕๖๖ (2023 APEC Economic Policy Report) […]

14 ธันวาคม 2563

ผลการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2563 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 1/2563 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 13 – 17 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ประเทศมาเลเซีย  ได้แก่ 1. การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนานโยบายกำกับเศรษฐกิจแบ่งปันอย่างมีนวัตกรรม (Workshop on Innovative Regulatory Policy Development :APEC Economies’ Approaches on Sharing Economy) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนานโยบายกำกับเศรษฐกิจแบ่งปันของเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคให้สอดรับกับการดำเนินธุรกิจแบบดิจิทัลที่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น อาทิ การกำหนดมาตรฐาน การออกกฎหมาย/กฎระเบียบ การจัดเก็บภาษี และการคุ้มครองผู้บริโภคให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 2. การประชุมเชิงปฏิบัติการในการหาข้อสรุปสำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติการเอเปค เรื่อง ความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจ ระยะที่ 3 (Workshop to Finalize the Third APEC Ease of Doing Business (EoDB) Action Plan) เพื่อหาข้อสรุปในการจัดทำแผนปฏิบัติการเอเปคฯ […]

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแผนงาน UN

แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation: GMS) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่าง 6 ประเทศในลุ่มแม่น้าโขง ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว จีน (มณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง) เมียนมา ไทย และเวียดนาม ริเริ่มขึนในปี พ.ศ. 2535 โดยการผลักดันของ 6 ประเทศและการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของแต่ละประเทศ ปัจจุบันแผนงาน GMS ดำเนินงานอยู่ภายใต้ กรอบยุทธศาสตร์แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ.2573 (GMS Economic Cooperation Program Strategic Framework 2030) ซึ่งมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่มีการบูรณาการ รุ่งเรือง ยั่งยืน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

3 เสาหลักความร่วมมือภายใต้แผนงาน GMS  การดำเนินงานของแผนงาน GMS ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งอยู่บน 3 เสาหลักการพัฒนา หรือหลักการ 3Cs ประกอบด้วย

แผนงาน GMS ให้ความสำคัญต่อแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridors) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจข้ามพรมแดนเข้าด้วยกันผ่านโครงสร้างพื้นฐาน การสอดประสานกันทางนโยบาย และการพัฒนากฎระเบียบให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ ผู้คน และเงินทุน ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยมี 3 แนวระเบียงเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่
(1) ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) (สีน้ำเงิน) –  เป็นเส้นทางหลักเชื่อมโยงประเทศจีนตอนใต้และ สปป.ลาว ออกสู่ทะเล รวมระยะทาง โดยมี 3 แนวระเบียงย่อย (Subcorridor)  

  • คุนหมิง (จีน) – บ่อเต็น (ลาว) / ท่าขี้เหล็ก (เมียนมา) – เชียงราย (ไทย) – กรุงเทพฯ (ไทย) 
  • คุนหมิง (จีน) – ฮานอย (เวียดนาม) – ไฮฟอง (เวียดนาม)
  • หนานหนิง (จีน) – ฮานอย (เวียดนาม) 

(2) ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) (สีเขียว) – เป็นเส้นทางเชื่อมโยงเมืองเศรษฐกิจสำคัญระหว่างเวียดนาม สปป.ลาว ไทย และเมียนมา รวมระยะทาง 1,500 กิโลเมตร ประกอบด้วย เมาะละแหม่ง (เมียนมา) – เมียวดี (เมียนมา) – แม่สอด (ไทย) – พิษณุโลก (ไทย) -ขอนแก่น (ไทย) -กาฬสินธุ์ (ไทย) – มุกดาหาร (ไทย) – สะหวันนะเขต (ลาว) – ดองฮา (เวียดนาม) -ดานัง (เวียดนาม) 

(3) ระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) (สีแดง) –เป็นเส้นทาง เชื่อมโยงเมืองเศรษฐกิจสำคัญระหว่าง ไทย- กัมพูชา- เวียดนาม รวมไปถึงเมียนมา และเวียดาม – กัมพุชา และลาว โดยมี 4 แนวระเบียงย่อย

  •  กรุงเทพฯ (ไทย) – พนมเปญ (กัมพูชา) – โฮจิมินห์ซิตี้ (เวียดนาม) -วังเตา (เวียดนาม) 
  • กรุงเทพฯ (ไทย) – เสียมราฐ (กัมพูชา) – สตรึงเตร็ง (กัมพูชา) – รัตนคีรี (กัมพูชา) – โอยาดาว (กัมพูชา) – เปล็ยกู (เวียดนาม) – กวีเญิน (เวียดนาม)
  • กรุงเทพฯ (ไทย) – ตราด (ไทย) – เกาะกง (กัมพูชา) – รัตนคีรี (กัมพูชา) – กัมปอต (กัมพูชา) –  ฮาเตียน (เวียดนาม) – กามู (เวียดนาม) – นําเชา (เวียดนาม) 
  • สีหนุวิล (กัมพูชา) – พนมเปญ (กัมพูชา) – กระแจะ (กัมพูชา) – สตึงแตรง (กัมพูชา) – ดงกระลอร์ (ลาว) – ปากเซ (ลาว) – สะหวันนะเขต (ลาว) ซึ่งเส้นทางนี้จะไปตัดกับระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก

เป็นกรอบการลงทุนในโครงงานระยะใกล้ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์การพัฒนาของแผนงาน GMS ปัจจุบันดำเนินงานภายใต้กรอบ RIF 2025 ครอบคลุมห้วงปี 2566 – 2568 ประกอบด้วยโครงการ 111 โครงการในทั้ง 6 ประเทศ

แผนการดําเนินงานในปัจจุบัน

กำหนดการประชุมสำคัญที่ผ่านมาและในอนาคต