ที่มาและหลักการ
วิสัยทัศน์แผนงาน GMS 2030 (GMS-2030) ซึ่งได้รับการรับรองโดยผู้นำแผนงาน GMS ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ตั้งเป้าหมายให้อนุภูมิภาคมีความบูรณาการ เจริญรุ่งเรือง และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยยังคงมุ่งเน้นจุดแข็งของชุมชน ความเชื่อมโยง และขีดความสามารถทางการแข่งขัน กรอบความร่วมมือฯ นี้ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน การรับมือกับภัยพิบัติ การบูรณาการภายในและภายนอก และการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างประชาคม GMS ที่มีอนาคตร่วมกันที่สดใส
วิสัยทัศน์แผนงาน GMS 2030 จะนำแนวทางที่เป็นนวัตกรรมมาใช้ในหลายมิติ เช่น การหารือเชิงนโยบายและกฎระเบียบอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มการใช้ความรู้ซึ่งเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของอนุภูมิภาค GMS-2030 สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายความรู้ GMS (GMS Knowledge Network: GMSKN) ซึ่งประกอบด้วยสถาบันความรู้ มหาวิทยาลัย และองค์กรวิจัยของ GMS รวมถึงสถาบันแม่โขง (Mekong Institute) ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่าย เพื่อจัดทำและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์และบริการความรู้ในอนุภูมิภาค
วัตถุประสงค์ของ GMSKN คือการให้ความเชี่ยวชาญ กระตุ้นการหารือ และสร้างการรับรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องและเกิดขึ้นใหม่ในอนุภูมิภาคแม่โขงตอนบน ในช่วงแรกของการดำเนินงาน GMSKN มุ่งเน้นการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ที่จะสนับสนุนความพยายามฟื้นฟูหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทั่วทั้งอนุภูมิภาค ในระยะยาว GMSKN จะช่วยอำนวยความสะดวกกระบวนการความร่วมมือและบูรณาการระดับภูมิภาค เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก GMS ในการสร้างอนุภูมิภาคแม่โขงตอนบนที่บูรณาการ เจริญรุ่งเรือง ยั่งยืน และครอบคลุม
ประเด็นความคืบหน้าล่าสุด
ฝ่ายเลขานุการแผนงาน GMS อยู่ระหว่างการจัดทำแผนการศึกษาเพื่อจัดตั้งครือข่ายความรู้ GMS (GMS Knowledge Network: GMSKN)