ทวาย

โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกทวาย

Dawei

ข่าวความเคลื่อนไหวที่สําคัญ

16 กรกฎาคม 2567

การประชุมกรอบความร่วมมือประเทศลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่นด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายใต้ คณะทำงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก ครั้งที่ 29

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอาเซียนและญี่ปุ่น (AEM-METI Economic and Industrial Cooperation Committee: AMEICC) ได้จัดการประชุมกรอบความร่วมมือประเทศลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ภายใต้คณะทำงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก ครั้งที่ 29 (29th Meeting on Mekong-Japan Economic and Industrial Cooperation under WEC-WG) ณ เวียงจันทน์ สปป. ลาว เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของกรอบความร่วมมือดังกล่าว โดยมีนายสำลี บุษดี (Mr. Samly Boutsady) อธิบดีกรมการอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว เป็นประธานการประชุมร่วมกับ นายยาสุจิ โคมิยามะ (Mr. Yasuji Komiyama) รองอธิบดีสำนักนโยบายการค้าและความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry: […]

4 ตุลาคม 2566

การประชุมกรอบความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ภายใต้คณะทำงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก ครั้งที่ 28

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับ นาย Tetsushi Yoshikawa รองอธิบดีสำนักนโยบายการค้า กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) ร่วมเป็นประธานการประชุมกรอบความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ภายใต้คณะทำงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก ครั้งที่ 28 (28th Meeting on Mekong-Japan Economic and Industrial Cooperation under WEC-WG) พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอาเซียนและญี่ปุ่น (AEM-METI Economic and Industrial Cooperation Committee: AMEICC) สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute) และกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง ได้แก่ สปป.ลาว เมียนมา กัมพูชา และ เวียดนาม ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ  ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าและผลสำเร็จของโครงการภายใต้วิสัยทัศน์การพัฒนาอุตสาหกรรมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงระยะที่ 2 ปี […]

13 กันยายน 2564

การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 13 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (The 13th Mekong-Japan Economic Ministers’ Meeting)

เมื่อวันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรัฐมนตรีประจำกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (MJ-CI Minister) เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 13 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมี ดร.คำเพง สีสมพง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว เป็นประธานการประชุมร่วมกับนายฮิโรชิ คากิยามะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ญี่ปุ่น ร่วมด้วยรัฐมนตรีจากประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงคือ นายปัน สรศักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กัมพูชา นายอ่อง เนียง โอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เมียนมา นายตรัน ก๊วก เฟือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุน เวียดนาม และดาโต๊ะลิม จ๊อก ฮอย เลขาธิการอาเซียน พร้อมด้วย นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะผู้แทนระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของฝ่ายไทย ผู้แทนหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ผู้แทนภาคเอกชนญี่ปุ่นและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และคณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอาเซียน-ญี่ปุ่น (AMEICC) […]

17 กรกฎาคม 2563

การประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีและภาคเอกชน กรอบ MJ-CI ครั้งที่ 13

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีและภาคเอกชนกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่นด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ครั้งที่ 13 และการประชุมคณะทำงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก ครั้งที่ 1/2563 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Videoconference) ร่วมกับผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านการต่างประเทศ (นายชิเงฮิโระ ทานะกะ) กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) พร้อมด้วยรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐมนตรี 5 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว (นายสมจิต อินทะมิท) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  เมียนมา (นายบราลัต ซิงค์) ปลัดกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา (นายซก โซเพียก) อธิบดีกรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (นายฟาม เฮือง ไม) และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้แทนภาคเอกชน 5 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงและญี่ปุ่น และผู้แทนองค์กรหุ้นส่วนการพัฒนา โดยมีนายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะผู้ประสานงานหลักระดับประเทศ (National Coordinator) กรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่นด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม […]

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแผนงานทวาย

แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation: GMS) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่าง 6 ประเทศในลุ่มแม่น้าโขง ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว จีน (มณฑลยูนนานและเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง) เมียนมา ไทย และเวียดนาม ริเริ่มขึนในปี พ.ศ. 2535 โดยการผลักดันของ 6 ประเทศและการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของแต่ละประเทศ ปัจจุบันแผนงาน GMS ดำเนินงานอยู่ภายใต้ กรอบยุทธศาสตร์แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ.2573 (GMS Economic Cooperation Program Strategic Framework 2030) ซึ่งมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่มีการบูรณาการ รุ่งเรือง ยั่งยืน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

3 เสาหลักความร่วมมือภายใต้แผนงาน GMS  การดำเนินงานของแผนงาน GMS ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งอยู่บน 3 เสาหลักการพัฒนา หรือหลักการ 3Cs ประกอบด้วย

แผนงาน GMS ให้ความสำคัญต่อแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridors) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจข้ามพรมแดนเข้าด้วยกันผ่านโครงสร้างพื้นฐาน การสอดประสานกันทางนโยบาย และการพัฒนากฎระเบียบให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ ผู้คน และเงินทุน ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยมี 3 แนวระเบียงเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่
(1) ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) (สีน้ำเงิน) –  เป็นเส้นทางหลักเชื่อมโยงประเทศจีนตอนใต้และ สปป.ลาว ออกสู่ทะเล รวมระยะทาง โดยมี 3 แนวระเบียงย่อย (Subcorridor)  

  • คุนหมิง (จีน) – บ่อเต็น (ลาว) / ท่าขี้เหล็ก (เมียนมา) – เชียงราย (ไทย) – กรุงเทพฯ (ไทย) 
  • คุนหมิง (จีน) – ฮานอย (เวียดนาม) – ไฮฟอง (เวียดนาม)
  • หนานหนิง (จีน) – ฮานอย (เวียดนาม) 

(2) ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) (สีเขียว) – เป็นเส้นทางเชื่อมโยงเมืองเศรษฐกิจสำคัญระหว่างเวียดนาม สปป.ลาว ไทย และเมียนมา รวมระยะทาง 1,500 กิโลเมตร ประกอบด้วย เมาะละแหม่ง (เมียนมา) – เมียวดี (เมียนมา) – แม่สอด (ไทย) – พิษณุโลก (ไทย) -ขอนแก่น (ไทย) -กาฬสินธุ์ (ไทย) – มุกดาหาร (ไทย) – สะหวันนะเขต (ลาว) – ดองฮา (เวียดนาม) -ดานัง (เวียดนาม) 

(3) ระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) (สีแดง) –เป็นเส้นทาง เชื่อมโยงเมืองเศรษฐกิจสำคัญระหว่าง ไทย- กัมพูชา- เวียดนาม รวมไปถึงเมียนมา และเวียดาม – กัมพุชา และลาว โดยมี 4 แนวระเบียงย่อย

  •  กรุงเทพฯ (ไทย) – พนมเปญ (กัมพูชา) – โฮจิมินห์ซิตี้ (เวียดนาม) -วังเตา (เวียดนาม) 
  • กรุงเทพฯ (ไทย) – เสียมราฐ (กัมพูชา) – สตรึงเตร็ง (กัมพูชา) – รัตนคีรี (กัมพูชา) – โอยาดาว (กัมพูชา) – เปล็ยกู (เวียดนาม) – กวีเญิน (เวียดนาม)
  • กรุงเทพฯ (ไทย) – ตราด (ไทย) – เกาะกง (กัมพูชา) – รัตนคีรี (กัมพูชา) – กัมปอต (กัมพูชา) –  ฮาเตียน (เวียดนาม) – กามู (เวียดนาม) – นําเชา (เวียดนาม) 
  • สีหนุวิล (กัมพูชา) – พนมเปญ (กัมพูชา) – กระแจะ (กัมพูชา) – สตึงแตรง (กัมพูชา) – ดงกระลอร์ (ลาว) – ปากเซ (ลาว) – สะหวันนะเขต (ลาว) ซึ่งเส้นทางนี้จะไปตัดกับระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก

เป็นกรอบการลงทุนในโครงงานระยะใกล้ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์การพัฒนาของแผนงาน GMS ปัจจุบันดำเนินงานภายใต้กรอบ RIF 2025 ครอบคลุมห้วงปี 2566 – 2568 ประกอบด้วยโครงการ 111 โครงการในทั้ง 6 ประเทศ

คณะทำงาน 10 สาขา

คณะทำงาน 10 สาขา

การดำเนินงานข้ามสาขา

การดำเนินงานข้ามสาขา

การประชุมสุดยอดผู้นำ (summit)

เป็นกลไกการประชุมสูงสุดโดยผู้นำระดับนายกรัฐมนตรีของแผนงาน GMS จัดขึ้นทุก 3 ปี เจ้าภาพหมุนเวียนตามตัวอักษร เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์โดยรวมของแผนงานตามและรับทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

การประชุมระดับรัฐมนตรี
(Ministerial Conferences)

เป็นกลไกการประชุมโดยรัฐมนตรีประจำแผนงาน GMS ของแต่ละประเทศ จัดขึ้นทุกปี เจ้าภาพหมุนเวียนตามตัวอักษร เพื่อติดตามการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา และกำหนดแนวทางนโยบายและติดตามผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดในการการประชุมสุดยอดผู้นำ

การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meetings)

เป็นการประชุมเจ้าหน้าที่จากเลขาธิการแผนงาน GMS ระดับชาติ ซึ่งในไทยคือ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละโครงการ จัดขึ้น 3-4 ครั้งในหนึ่งรอบปี เพื่อถ่ายทอดและติดตามข้อสั่งการจากที่ประชุมระดับสูงเพื่อนำไปสู่การดำเนินโครงการภาคปฏิบัติ 

คณะทำงานในสาขาต่าง ๆ 
(Working Groups)

เป็นการประชุมประสานงานโดยหน่วยงานภาคปฏิบัติในแต่ละสาขาความร่วมมือ นอกจากนี้ ยังมีคณะทำงานเฉพาะทางอื่น ๆ ภายใต้แผนงาน GMS อาทิ คณะทำงานเฉพาะกิจด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Invesment Task Force) สำนักงานประสานงานการท่องเที่ยวลุ่มน้ำโขง (Mekong Tourism Coordinating Office) เครือข่ายองค์ความรู้ GMS (GMS Knowledge Network) เป็นต้น

การประชุมเวทีหารือระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor Forum)

เป็นการประชุมระหว่างตัวแทนภาครัฐ เอกชน และหุ้นส่วนการพัฒนาในประเด็นการดำเนินการในแนวระเบียงเศรษฐกิจ จัดขึ้นทุกปี มีเจ้าภาพหมุนเวียนภายในประเทศสมาชิกแผนงาน GMS

การประชุมผู้ว่าราชการจังหวัด
(GMS Governors Forum)

เป็นการประชุมคู่ขนานกับการประชุมระเบียงเศรษฐกิจซึ่งเป็นเวทีหลักในการมีส่วนร่วมของรัฐบาลท้องถิ่นในแผนงาน GMS จัดขึ้นทุกปีที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดในระเบียงเศรษฐกิจ

สภาธุรกิจ GMS
(GMS Business Council)

เป็นกลไกการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในแผนงาน GMS และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเอกชนในทั้ง 6 ประเทศ ประกอบด้วยผู้แทนจากหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมจากประเทศสมาชิก โดยไทยมีผู้แทนจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันเป็นสมาชิก

แผนการดําเนินงานในปัจจุบัน

กำหนดการประชุมสำคัญที่ผ่านมาและในอนาคต